(การ์ดคำสอน) เพราะทุุกสิ่ง ก็เพียงเป็นไปตามเหตุปัจจัย

โดยความจริงแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุปัจจัยบีบบังคับ มันจึงไม่สามารถจะเป็นอย่างอื่นจากที่มันกำลังเป็นอยู่ได้ มันไม่ได้ดีไม่ได้ชั่วด้วยตัวของมันเอง มันเป็นอย่างที่มันเป็น แต่การขาดอินทรียสังวรทำให้เกิดความหลงรัก หลงชัง สิ่งที่ไปรับรู้ เข้าติดยึดในนิมิตเครื่องหมายและรายละเอียดของสิ่งนั้น เกิดความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง แล้วให้ค่าสิ่งต่างๆ เป็นดี ชั่ว ถูก ผิด บวก ลบ สูง ต่ำ สำคัญ ไม่สำคัญ น่าพอใจ ไม่น่าพอใจ เมื่อเข้าไปยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นที่รัก สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ยึดนั้นก็จะเป็นที่ตั้งของความเกลียดชัง สิ่งหนึ่งให้ความพอใจ สบายใจ แต่อีกสิ่งหนึ่งให้ความไม่พอใจ หงุดหงิด ขัดเคือง จึงเกิดความรู้สึกที่คับแคบมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ให้ความสุขแก่เราเป็นพวกของเรา กับ สิ่งที่ให้ความทุกข์แก่เราไม่ใช่พวกของเรา มีความเห็นที่แบ่งแยกฝ่ายเรา ฝ่ายเขา มีมุมมองที่คับแคบ เต็มไปด้วยอคติ
การใช้ชีวิตที่เต็มด้วยอคติเช่นนี้ เต็มไปด้วยความมืดมิด มองไม่เห็นความจริง ยศหรือความน่าเชื่อถือของเขาย่อมเสื่อม อย่างที่พระพุทธเจ้าอุปมาว่า ดุจพระจันทร์ในข้างแรม [*] บุคคลใดที่เป็นฝ่ายตนหรือให้ประโยชน์แก่ตน ก็ดูเป็นมิตร ทำให้อะไรก็ถูกหรือดูดีไปหมด บุคคลใดที่เป็นฝ่ายคนอื่นหรือทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ก็เป็นศัตรู เป็นฝ่ายตรงข้าม ทำอะไรก็ดูไม่น่าเชื่อถือ จนทำให้เกิดความแยกพรรคแยกพวก เป็นฝ่าย จนกระทั่งถึงกับทำร้าย ทุบตี ต่อสู้ หรือแม้กระทั่งเกิดสงครามกัน
มนุษย์ที่เกิดมาในโลก โดยธรรมชาติก็เป็นเหมือนญาติพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น สิ่งต่างๆ ในโลกก็เป็นของกลาง ไม่ใช่สมบัติของใครเป็นพิเศษ ไม่มีใครมีอำนาจครอบครองสิ่งใดๆ ไว้แต่เพียงผู้เดียว แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยกขึ้นมา ก็ด้วยอาศัยความรู้สึกสองขั้วนี้ คือ ความพอใจ ไม่พอใจ ตามภาษาบาลีว่า อภิชฌาและโทมนัส ซึ่งสิ่งนี้เกิดมาจากการขาดอินทรียสังวร ผู้คนจึงจมอยู่กับโลก อยู่กับการแบ่งแยก อยู่กับของเป็นคู่ๆ ที่ไม่แน่ไม่นอน และไม่มีแก่นสารพอจะเป็นที่พึ่งได้ ซึ่งเป็นธรรมชาติของโลก ไม่อาจจะพ้นไปจากโลกได้
เนื้อหาจากหนังสือ การพัฒนาอินทรียสังวร หน้า ๒๔๓

[*] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๑๗/๒๙.

(ภาพเนื้อหาจากหนังสือ “สัจจะแห่งชีวิต”)

ศึกษาธรรมะจาก อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง

อ่านหนังสือการพัฒนาอินทรียสังวร pdf

(ดูVDO และฟังMP3) เรื่อง สังสาระแห่งการวนเวียนซ้ำซาก

ท่านใดที่ปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกไม่สามารถวางทางโลกได้ หรือติดอยู่กับทางโลก หลงใหลอยู่กับกามคุณทั้งหลาย ตัวปล่อยใจให้ไหลไปกับโลกอยู่กับเรื่องทางโลก
คลิปนี้น่าฟังมากๆ เลย “อนมตัคคสังสาร”
ในสังสาระแห่งการวนเวียนไป ซ้ำซาก รู้เบื้องต้นไม่ได้ รู้เบื้องปลายไม่ได้
หรือดาวโหลดคลิปเสียง mp3 นี้ใส่เครื่องเล่นพกติดตัวไว้ฟังนะ เป็นอะไรที่ ได้สะท้อนใจ ได้สะท้อนตัวเราเอง เราฟังแล้วดีมากๆๆ เลย

https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/12/aj-supee-anamatakkasangsara.mp3

ขอขอบพระคุณผู้จัดให้เกิดการบรรยายธรรมนี้ขึ้นมา
เป็นอะไรที่ดีมากๆ เลย
เว็บไซต์ อ.สุภีร์ ทุมทอง ที่นี่นะคะ
http://www.ajsupee.com
ดีมากๆ เลยค่ะ

(vdo และ mp3) ธัมมานุปัสสนา (อย่างละเอียด)

แนะนำธรรมบรรยายนี้ค่ะ
อ.สุภีร์ ทุมทอง ท่านอธิบายเรื่อง ธัมมานุปัสสนา เอาไว้ละเอียดมากๆ ซึ่ง ธัมมานุปัสสนา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐาน น่าฟังมากๆ ค่ะ

ธัมมานุปัสสนา ประกอบด้วยหัวข้อย่อยในการบรรยายดังนี้
๑) นิวรณ์ ๕
๒) อุปาทานขันธ์ ๕
๓) อายตนะภาายใน ๖ ภายนอก ๖
๔) โพชฌงค์ ๗
๕) อริยสัจ ๔
ธรรมบรรยายโดยอาจารย์สุภีร์ ทุมทอง
บรรยาย ณ อาคารเจริญธรรม บ้านจิตสบาย ( ๑๖ กันยายน ๒๕๕๕) ในคลิปวีดีโอที่บรรยายวันนั้นจะแบ่งเป็น ๖ ช่วง

ฟังคลิปเสียง mp3 ได้ที่นี่
(คลิปเสียงนี้เรานำทั้ง ๖ ช่วงมาไว้ในคลิปเสียงเดียวแล้ว สำหรับดาวโหลดฟังเป็นความรู้นะคะ)

ในธรรมบรรยายนี้อาจมีคำศัพท์ทางธรรมะอยู่ด้วย หากคำไหนเราอยากได้คำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจ เราสามารถค้นหาความหมายได้จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์
ฟังคลิปเสียง mp3
คลิปเสียงนี้รวมทั้ง ๖ ช่วงมาไว้ในคลิปเสียงเดียวแล้วค่ะ
ขอให้ทุกท่านเจริญก้าวหน้าในการศึกษาธรรมะ และเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ (-/\-)

อ่านหนังสือธรรมะ pdf และฟังเสียงธรรม mp3 เพิ่มเติมจาก
อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง

“มิจฉาทิฏฐิ” ความเห็นผิดที่มีกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล

mitchaditti-4
(^_^)  เราฟังแล้ว เนื้อหาดีมากๆค่ะ
แนะนำเลย
มิจฉาทิฏฐิ ตอนที่ 1
หัวข้อที่บรรยายในตอนที่ ๑ นี้ค่ะ
– สักกายทิฏฐิ ๒๐
– มิจฉาทิฏฐิ ๑๐
– ลัทธิครูทั้ง ๖
     – ปูรณะ กัสสปะ
     – มักขลิ โคสาละ
     – อชิตะ โกสกัมพละ
     – ปกุธะ กัจจายนะ
     – นิคัณฐะ นาฏปุตตะ
     – สัญชยะ เพลัฏฐปุตตะ
มิจฉาทิฏฐิ ตอนที่ 2
หัวข้อที่บรรยายในตอนที่ ๒ นี้ค่ะ
– ลัทธิครูทั้ง ๖ (ต่อ)
     – ปูรณะ กัสสปะ (ต่อ)
     – มักขลิ โคสาละ (ต่อ)
     – อชิตะ โกสกัมพละ (ต่อ)
     – ปกุธะ กัจจายนะ (ต่อ)
     – นิคัณฐะ นาฏปุตตะ (ต่อ)
     – สัญชยะ เพลัฏฐปุตตะ (ต่อ)
มิจฉาทิฏฐิ ตอนที่ 3
หัวข้อที่บรรยายในตอนที่ ๓ นี้ค่ะ
– ลัทธิครูทั้ง ๖ (ต่อ)
     – ปกุธะ กัจจายนะ (ต่อ)
     – นิคัณฐะ นาฏปุตตะ (ต่อ)
     – สัญชยะ เพลัฏฐปุตตะ (ต่อ)
– ทิฏฐิคู่
     – ภว-วิภวทิฏฐิ
     – สัสสต-อุจเฉททิฏฐิ
     – อันตวา-อนันตวาทิฏฐิ
     – ปุพพันตานุ-อปรันตานุทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ ตอนที่ 4
หัวข้อที่บรรยายในตอนที่ ๔ นี้ค่ะ
– ทิฏฐิคู่ (ต่อ)
     – อัตถิ-นัตถิทิฏฐิ
     – เอกัตต-ปุถุตตทิฏฐิ
     – ชีวสรีรเอกัตต-ชีวสรีรนานัตตทิฏฐิ
     – อัตตการ-ปรการทิฏฐิ
     – การกเวทกเอกัตต-การกเวทนกนานัตตทิฏฐิ
– ทิฏฐิ ๖๒
     – ปุพพันตกัปปิก ๑๘
          – สัสสตวาทะ ๔
          – เอกัจจสัสสตวาทะ ๔
          – อันตานันติกวาทะ ๔
          – อมราวิกเขปิกวาทะ ๔
          – อธิจจสมุปปันนวาทะ ๒
มิจฉาทิฏฐิ ตอนที่ 5
หัวข้อที่บรรยายในตอนที่ ๕ นี้ค่ะ
– ทิฏฐิ ๖๒ (ต่อ)
     – ปุพพันตกัปปิก ๑๘
          – สัสสตวาทะ ๔ (ต่อ)
          – เอกัจจสัสสตวาทะ ๔ (ต่อ)
          – อันตานันติกวาทะ ๔ (ต่อ)
          – อมราวิกเขปิกวาทะ ๔ (ต่อ)
          – อธิจจสมุปปันนวาทะ ๒ (ต่อ)
     – อปรันตกัปปิก ๔๔
          – สัญญีวาทะ ๑๖
          – อสัญญีวาทะ ๘
          – เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘
          – อุจเฉทวาทะ ๗
          – ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕
มิจฉาทิฎฐิ ตอนที่ 6
หัวข้อที่บรรยายในตอนที่ ๖ นี้ค่ะ
– ทิฏฐิ ๖๒ (ต่อ)
     – อปรันตกัปปิก ๔๔ (ต่อ)
          – ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ (ต่อ)
– ทิฏฐิทั่วไป
     – อกิริยะเกี่ยวกับกรรม
     – สิ้นกรรมด้วยตบะ
     – กรรมกับอนัตตา
     – วิญญาณเป็นตัวท่องเที่ยว
     – สัญญาเกิดดับโดยไม่มีเหตุ
     – สัญญากับอัตตา
     – พระอรหันต์ตายแล้วสูญ
     – โทษของกามไม่มี
(^_^)  เนื้อหาดีมากๆค่ะ แนะนำๆ
จากธรรมบรรยายเรื่อง “มิจฉาทิฎฐิ”
โดย อ.สุภีร์ ทุมทอง
โครงการบรรยายธรรม จัดโดย เบนซ์ทองหล่อ
(บรรยายวันที่ 26 เม.ย. 3 พ.ค. 23 พ.ค. 7 มิ.ย. 21 มิ.ย. และ 26 ก.ค. 2554)

ศึกษาธรรมะจาก อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง
อ่านหนังสือธรรมะ pdf
และฟังเสียงธรรม mp3
http://www.ajsupee.com

เพราะอยู่ที่เราเลือกเอง

หมอดูเขาทายมา เป็นจริงก็ได้ ไม่เป็นจริงก็ได้ แต่ถ้าเราเลือกใหม่ มีความตั้งใจใหม่ เราจะเปลี่ยนชีวิตเป็นแบบไหนก็ได้ มันอยู่ที่เราเลือก อยู่ที่เจตนาในใจเรา ชีวิตเรามันอยู่ในกำมือเราอยู่แล้ว แต่เดิมมันอยู่ในกำมือชาวบ้านเขา บางคนอยู่ในกำมือจอมปลวก อยู่ในกำมือของต้นไทร อยู่ในกำมือเจ้าแม่นั่นเจ้าพ่อนี่ อะไรเยอะแยะ ฝากชะตาชีวิตไว้กับดวงดาว ฝากไว้กับหมอดู ฝากไว้กับเวลาตกฟาก

ต่อมา เราถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะนี้ ฝากชะตาชีวิตไว้กับตัวเราเอง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราคือกรรมนั่นเอง เจตนาในการทำ การตัดสินใจทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงชีวิต การตัดสินใจ ตั้งใจในการทำ พูด คิด นี้เรียกว่ากรรมใหม่ ถามว่ากรรมเก่ามีผลไหม มี แต่ก็ขึ้นอยู่กับกรรมใหม่ที่เราทำ พระพุทธเจ้าท่านเน้นไปที่การทำกรรมใหม่

โลกมนุษย์เรานี้เป็นเหมือนกับชุมทาง เคยเห็นชุมทางรถไฟไหม จะแยกไปทางไหนก็ได้ ถ้าอยากเป็นเปรตก็ไม่ต้องทำอะไร ไม่พัฒนาตัวเองเลย อยู่เฉยๆมันก็ได้เป็น เลือกเป็นมนุษย์อย่างเดิมก็ได้ ให้มีเจตนาในการรักษาศีลไว้ ให้มีหิริโอตัปปะ อย่าไปทำผิดศีล ให้มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อบาป ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จิตใจดีงาม รู้จักเสียสละแบ่งปัน ให้ทาน รู้จักทำใจให้ปล่อยวางสิ่งต่างๆในโลก มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทำจิตให้สงบ ได้ฌานไม่เสื่อมก็ไปเกิดพรหมโลก นอกจากนั้นยังสามารถฝึกฝนตนเองให้เหนือโลกก็ได้

โลกมนุษย์เป็นชุมทางให้เราเลือก กฎแห่งกรรมนั่นเองเป็นตัวที่ทำให้เราเลือกได้ เลือกโดยเจตนาในใจเราเอง

อ.สุภีร์ ทุมทอง
จากหนังสือ วิถีแห่งพุทธะ pdf

อ่านหนังสือธรรมะ pdf
และฟังเสียงธรรม mp3 เพิ่มเติมจาก
อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง

เมื่อเจตนาต่าง กรรมก็เลยต่าง

different-krama-600px-2

“… เรื่องเกี่ยวกับกรรมนี้มันเกี่ยวกับจารีตด้วย เกี่ยวกับยุคสมัยด้วยเช่นกัน เกี่ยวกับยุค เกี่ยวกับสมัย
เพราะว่าเรื่องของกรรมมันเกี่ยวกับเจตนา พวกกฏหมายก็ดีอะไรก็ดีพวกนี้มันก็มีผลต่อความรู้สึกของเรา
สมมุติแต่ก่อนไม่มีกฎหมายในด้านพวกเกี่ยวกับลิขสิทธ์อะไรต่างๆ เราก็ไม่มีความคิดที่จะไปขโมยเขา เราก็ใช้ไปอย่างงั้นแหละก็ไม่รู้สึกที่จะต้องขโมยใครอะไรมา แต่พอหลังๆชักจะมีกฏหมายพวกนี้มาอะไรมา แล้วเราก็รู้เรื่องด้วย ทีนี้พอรู้เรื่องแล้วก็ชักจะมีปัญหาขึ้นมา
กฏเกณฑ์ กฏระเบียบ กฏหมาย จารีต มันมีผลต่อกรรมต่อความรู้สึก เพราะเจตนานั่นเองเป็นกรรม
ตอนนี้เรามาดูด้านกรรมบถ คือตอนมันออกมา ถ้าคิดจะไปเอาของเค้ามาโดยที่เค้าไม่อนุญาตไม่ให้ไม่บอกเค้าก่อน ไม่ว่าจะแง่ใดแง่หนึ่ง
..ใช้ๆไปเถอะ..ไม่เป็นไรหรอก..ซอฟท์แวร์มัน..ช่างมันเถอะ..คนอื่นเค้าก็ใช้กัน..เราก็เอามั่ง..
ตอนยังไม่รู้มันก็ไม่คิดจะขโมยใครเหมือนกันนะ มันก็ไม่มีความรู้สึกจะเป็นเจตนาที่เป็นกรรมชั่วร้าย แต่พอมันรู้เรื่องนี่ล่ะ เอาแล้ว
ฉะนั้นพวกจารีตพวกอะไรต่างๆมีผลเยอะในด้านของกรรมด้านกฎหมายด้านอะไรต่อมิอะไรพวกนี้ ตอนไม่มีกฎหมายเราก็ไม่ได้คิดจะล่วงอะไรมันใช่ไหม มันก็อยู่ของมันดีๆนะแหละ แต่พอมีกฏหมาย
กฎหมายให้เสียภาษี แต่เดิมไม่ได้เสีย ตอนนี้มีกฎหมายแล้ว ก็ไม่เสียเหมือนเดิม ตอนไม่มีกฎหมายนี่เราไม่คิดขโมยนะ แต่ตอนมีกฎหมายแล้วเรารู้ว่ามีกฎหมายแล้ว ตอนนี้เราคิดจะเลี่ยงแล้ว ความคิดมันต่างกันเจตนามันต่าง
พอเจตนาต่าง กรรมมันก็เลยต่าง
…”

(วีดีโอ และ mp3) เรียนเรื่องอินทรียสังวร

“เรียนเรื่องอินทรียสังวรค่ะ”

เรื่องนี้สำคัญมากในการปฏิบัติธรรม เป็นการอธิบายประกอบบาลีจากพระไตรปิฏกเลย มีแบบคลิปวีดีโอ กับ mp3 นะคะเลือกเรียนได้เลย “แนะนำว่าฟังจากตอนที่ 1 ก่อนจะดีมากๆ เลยค่ะ”

ตอนที่ 1 จะได้เรียนเรื่อง
– ความหมายของอินทรียสังวร
– ความสำคัญของอินทรียสังวร

ดูแบบ vdo
ฟังแบบ mp3

ตอนที่ 2 จะได้เรียนเรื่อง
– ประโยชน์ของการมีอินทรียสังวร

ดูแบบ vdo
ฟังแบบ mp3

ตอนที่ 3 จะได้เรียนเรื่อง
– โทษของการขาดอินทรียสังวร
– วิธีปฏิบัติอินทรียสังวร

ดูแบบ vdo
ฟังแบบ mp3

ตอนที่ 4 จะได้เรียนเรื่อง
– วิธีปฏิบัติอินทรียสังวร (ต่อ)

ดูแบบ vdo
ฟังแบบ mp3

ตอนที่ 5 จะได้เรียนเรื่อง
– อุบายและวิธีประกอบการฝึกอินทรียสังวร

ดูแบบvdo
ฟังแบบ mp3

ตอนที่ 6 จะได้เรียนเรื่อง
– อุบายและวิธีประกอบการฝึกอินทรียสังวร (ต่อ)

ดูแบบ vdo
ฟังแบบ mp3

ยืนยันว่าเรื่อง อินทรียสังวร สำคัญต่อการปฏิบัติธรรมมาก สำหรับท่านใดอยากได้แบบอ่านเป็นหนังสือเข้าที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยนะคะ หนังสือในลิงค์นี้ไม่ใช่ที่บรรยายในวีดีโอหรอกนะ เพียงแต่เราเห็นว่าหัวข้อเดียวกันและอาจารย์ผู้บรรยายท่านเดียวกัน จึงนำมาเชื่อมโยงให้ค่ะ ^___^ เผื่อท่านใดถนัดแบบอ่านมากกว่า จะได้พิมพ์ลงกระดาษอ่านเองได้เลย
คลิกที่นี่ค่ะ

ท่านสามารถศึกษาธรรมะฟังคลิปเสียง mp3 หรืออ่านหนังสือ pdf
เพิ่มเติมจาก อ.สุภีร์ ทุมทอง ได้ที่
http://www.ajsupee.com/

อ่านเรื่องการพัฒนาอินทรียสังวร

เล่มนี้น่าอ่านมากเลยค่ะ เป็นวิทยานิพนธ์ของ อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง เรื่อง “การพัฒนาอินทรียสังวร”

20130930_195950-600px-2

เนื้อหาข้างในอัดแน่น มีประโยชน์มากๆ เราลองอ่านแล้ว นี้เราดึงนำเอา “สารบัญ” มาให้ดูนะคะ กับนำ “บทคัดย่อ (Abstract)” มาให้ลองอ่านกันค่ะ

เผื่อท่านใดสนใจ ลองดูตามนี้นะคะ

สารบัญ
บทคัดย่อภาษาไทย ๑๖
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ๑๘
บทที่ ๑ บทนำ ๒๒
๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ๒๓
๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๒๕
๑.๓ คำจำกัดความของศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย ๒๖
๑.๔ ทบทวนเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒๗
๑.๕ ขอบเขตของการวิจัย ๓๔
๑.๖ วิธีดำเนินการวิจัย ๓๔
๑.๗ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๓๔
spacer
บทที่ ๒ ความหมายและความสำคัญ
ของอินทรียสังวรในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓๖
๒.๑ ความหมายของอินทรียสังวร ๓๗
๒.๑.๑ ความหมายของคำว่า อินทรีย์
ตามรูปศัพท์บาลีและพระพุทธพจน์ ๓๗
๒.๑.๒ ความหมายของคำว่า สังวร
ตามรูปศัพท์บาลีและพระพุทธพจน์ ๔๗
๒.๑.๓ ความหมายจากคัมภีร์อรรถกถา ๖๓
๒.๑.๔ ความหมายจากนักปราชญ์ต่างๆ ๗๑
๒.๒ ความสำคัญของอินทรียสังวร ๘๒
๒.๒.๑ ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ๘๓
๒.๒.๒ ความสำคัญต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ๑๐๗
๒.๒.๓ ประโยชน์ของการมีอินทรียสังวร ๑๑๘
๒.๒.๓.๑ สำหรับบุคคลทั่วไป ๑๑๘
๒.๒.๓.๒ สำหรับพระภิกษุสามเณรและบรรพชิต ๑๒๕
๒.๒.๔ โทษของการขาดอินทรียสังวร ๑๓๓
๒.๒.๔.๑ สำหรับบุคคลทั่วไป ๑๓๓
๒.๒.๔.๒ สำหรับพระภิกษุสามเณรและบรรพชิต ๑๓๕
๒.๒.๔.๓ การเกิดในอบายภูมิ ๑๔๔
บทที่ ๓ วิธีปฏิบัติอินทรียสังวรและหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง ๑๕๐
๓.๑ กระบวนการทำงานของอินทรียสังวร ๑๕๑
๓.๑.๑ กระบวนการรับรู้อารมณ์ทางทวาร ๖ ๑๕๑
๓.๑.๒ การปฏิบัติอินทรียสังวร ๑๖๒
๓.๑.๒.๑ อินทรียสังวรอันยอดเยี่ยมในอริยวินัย ๑๖๒
๓.๑.๒.๒ อินทรียสังวรของพระเสขะและพระอเสขะ ๑๖๗
๓.๑.๒.๓ องค์ธรรมหลักที่ใช้ในการปฏิบัติ ๑๖๙
๓.๑.๒.๔ อุบายและวิธีประกอบการฝึกอินทรียสังวร ๑๗๙
(๑) การปฏิบัติกรรมฐาน ๑๘๐
(๒) ไม่ถือโดยนิมิตและอนุพยัญชนะ ๑๘๘
(๓) เลือกอารมณ์ ๑๘๙
(๔) หลบหลีกอารมณ์ ๑๙๓
(๕) เผชิญหน้าอย่างมีสติ ๑๙๔
(๖) เผชิญหน้าเอาชนะอารมณ์ ๑๙๖
(๗) ปฏิบัติตามวินัยโดยเคร่งครัด ๑๙๘
(๘) โยนิโสมนสิการ ๒๐๑
(๙) ปิดทวาร ๒๐๒
(๑๐) สักแต่ว่ารู้ ๒๐๓
(๑๑) การตักเตือนตนเอง ๒๐๔
(๑๒) การทำกติกาบางอย่าง ๒๐๖
๓.๑.๓ ตัวอย่างการปฏิบัติอินทรียสังวรในคัมภีร์ ๒๐๘
๓.๑.๓.๑ บุคคลผู้ที่มีอินทรียสังวร ๒๐๙
๓.๑.๓.๒ บุคคลผู้ที่ไม่มีอินทรียสังวร ๒๑๓
๓.๒ อินทรียสังวรกับหลักธรรมเกี่ยวข้อง ๒๑๖
๓.๒.๑ อินทรียสังวรกับไตรสิกขา ๒๑๗
๓.๒.๒ อินทรียสังวรกับกระบวนการปฏิจจสมุปบาท ๒๒๐
๓.๒.๓ อินทรียสังวรกับสติปัฏฐาน ๒๒๗
๓.๒.๔ อินทรียสังวรกับลำดับการปฏิบัติธรรมตามพระบาลี ๒๓๒
๓.๒.๕ อินทรียสังวรในหมวดธรรมอื่นๆ ๒๓๔
บทที่ ๔ วิธีนำแนวปฏิบัติ
และประยุกต์หลักอินทรียสังวรในสังคมไทยปัจจุบัน ๒๓๖
๔.๑ ปัญหาของการขาดอินทรียสังวร ๒๓๗
๔.๑.๑ ทำให้มีกองทุกข์เกิดวนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด ๒๓๙
๔.๑.๒ ทำให้เกิดความลำบากในการแสวงหากามคุณ ๒๔๐
๔.๑.๓ มีมากก็ยิ่งทุกข์มากและมีปัญหาสลับซับซ้อนตามมามาก ๒๔๑
๔.๑.๔ เกิดการแบ่งแยกและเห็นคนอื่นเป็นฝ่ายตรงข้าม ๒๔๓
๔.๑.๕ ไม่เกิดการศึกษาและแก้ปัญหาไม่ได้จริง ๒๔๔
๔.๒ สาเหตุของการขาดอินทรียสังวร ๒๔๘
๔.๒.๑ ไม่รู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง ๒๔๘
๔.๒.๒ ไม่รู้จักความสุขอย่างแท้จริง ๒๕๑
๔.๒.๓ ไม่ได้รับการพัฒนาจิต ๒๕๓
๔.๒.๔ ไม่มีหลักให้จิตยึด ๒๕๕
๔.๒.๕ การศึกษาที่มุ่งเน้นผิดทาง ๒๕๗
๔.๒.๖ สังคมและวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม ๒๖๐
๔.๓ ผลกระทบของการขาดอิทรียสังวร ๒๖๖
๔.๔ แนวทางการพัฒนาอินทรียสังวร ๒๗๓
๔.๔.๑ การฝึกอินทรียสังวรทางทวารทั้ง ๖ ๒๗๓
(๑) ทางตา ๒๗๔
(๒) ทางหู ๒๗๖
(๓) ทางจมูก ๒๗๗
(๔) ทางลิ้น ๒๗๗
(๕) ทางกาย ๒๗๘
(๖) ทางใจ ๒๗๙
๔.๔.๒ การฝึกเพื่อเตรียมพัฒนาอินทรียสังวร ๒๘๐
(๑) ฟังผู้รู้จริงให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง ๒๘๑
(๒) สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้าทำให้พัฒนาถูกทาง ๒๘๓
(๓) ให้รู้จักความสุขที่ควรกลัวและไม่ควรกลัว ๒๘๘
(๔) ปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่อพัฒนาจิต ๒๙๑
(๕) ให้การศึกษาที่ถูกต้อง ๒๙๓
(๖) ความเคยชินในแง่ดี ๒๙๗
(๗) ส่งเสริมวัฒนธรรมและสังคมที่ดีงาม ๓๐๐
spacer
บทที่ ๕ สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ๓๐๔
๕.๑ สรุปผลการวิจัย ๓๐๕
๕.๒ ข้อเสนอแนะ ๓๒๑
คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ ๓๒๒
เชิงอรรถ ๓๒๘
บรรณานุกรม ๓๔๒
ประวัติผู้วิจัย ๓๔๘
บทคัดย่อ (Abstract)
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของอินทรียสังวรในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติอินทรียสังวรและหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง (๓) เพื่อนำเสนอวิธีปฏิบัติและประยุกต์หลักอินทรียสังวรในสังคมไทยปัจจุบัน จากการวิจัยพบว่า อินทรียสังวร หมายถึง การปิดกั้น การห้าม การป้องกัน การระมัดระวังไม่ให้จิตถูกฉุดดึงออกไปสนใจอารมณ์อันจะเป็นเหตุให้เกิดอกุศล และยังหมายถึงการคุ้มครองรักษาจิตให้อยู่กับหลักอันมั่นคงไว้ ทำให้จิตรอดพ้นจากการถูกครอบงำด้วยกิเลสต่างๆ เมื่อมีการรับรู้อารมณ์ หรือเรียกว่า ความคุ้มครองทวาร
อินทรียสังวรนั้นมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีการฝึกจิต ทำให้เป็นผู้มีศีลดีทำให้ชีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข และมีความสำคัญต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น โดยเป็นหมวดธรรมในภาคปฏิบัติ เป็นเหตุทำให้สุจริต ๓ สมบูรณ์ เกิดสมาธิ เกิดปัญญา จนถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ได้
อินทรียสังวรมีประโยชน์ ทำให้ได้รับความสุขอันประณีตปราศจากกิเลสรบกวน และเป็นประโยชน์ต่อการฝึกปฏิบัติในธรรมวินัย สำหรับพระภิกษุสามเณรก็มีประโยชน์มาก ทำให้สามารถอยู่ในเพศพรหมจรรย์ได้นาน เป็นเหตุให้เจริญงอกงามในธรรมวินัย มีคุณธรรมต่างๆ เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม หากขาดอินทรียสังวรแล้ว จะนำความทุกข์มาให้มากมาย และมีอกุศลวิตกเข้ามารบกวนมากจนอยู่ไม่เป็นสุข สำหรับพระภิกษุก็ทำให้กลายเป็นผู้มัวเมาในกามคุณ ๕ เป็นเหตุให้ต้องลาสิกขาไป เสื่อมจากประโยชน์ที่มุ่งหมายจากการบวช เมื่อตายไปก็เป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิได้
วิธีปฏิบัติอินทรียสังวรอันยอดเยี่ยมในพระธรรมวินัยนั้น พระพุทธองค์ทรงมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาอินทรีย์ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด คือ มีปัญญาเห็นความจริงของสังขารทั้งปวง เรียกว่าอินทรียภาวนา องค์ธรรมหลักที่ใช้ในการฝึกหัด คือ มีสติ มีความรู้ตัว ไม่หลงลืม เตรียมพร้อมอยู่เสมอ อุบายวิธีในการฝึกให้มีอินทรียสังวร เช่น การปฏิบัติกรรมฐาน การไม่ยึดถือนิมิตและอนุพยัญชนะ เลือกอารมณ์ หลบหลีกอารมณ์ เผชิญหน้าอย่างมีสติ การปฏิบัติตามวินัยอย่างเคร่งครัด และโยนิโสมนสิการ เป็นต้น อินทรียสังวรนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลักธรรมอื่นๆ เช่น ไตรสิกขา ปฏิจจสมุปบาท และสติปัฏฐาน เป็นต้น
แนวทางในการนำหลักอินทรียสังวรมาประยุกต์ในสังคมไทย คือ ให้ใช้ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจอย่างถูกต้อง มีความสำรวมระวังทางทวารทั้ง ๖ ไม่หลงยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ รู้จักบังคับควบคุมตนเอง ไม่ทำตามความอยากและกิเลสต่างๆ เริ่มต้นด้วยการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เกิดสัมมาทิฏฐิ รู้จักความจริงและวิธีปฏิบัติต่อความจริงตามหลักอริยสัจ รู้จักสุขที่ควรกลัวและไม่ควรกลัว ส่งเสริมการปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่อพัฒนาจิต และให้การศึกษาที่ถูกต้อง
อ่านหนังสือ ดาวโหลด pdf ที่นี่เลยค่ะ (จะได้พิมพ์ลงกระดาษอ่านเองได้ด้วย)
(-/\-) ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมค่ะ
ดาวโหลด pdf คลิกที่นี่
เพิ่มเติมค่ะ
ท่านใดถนัดแบบดูวีดีโอหรือแบบฟัง mp3 ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยนะคะ
ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ไม่ใช่หนังสือเล่มนี้นะคะ เพียงแต่เราเห็นว่าหัวข้อเดียวกันและอาจารย์ผู้บรรยายท่านเดียวกัน จึงนำมาเชื่อมโยงให้ค่ะ ^___^ เผื่อท่านใดถนัดแบบดูหรือแบบฟัง จะได้เรียนได้ด้วย คลิกที่นี่นะคะ

ศึกษาธรรมะฟังคลิปเสียง mp3 หรืออ่านหนังสือจาก อ.สุภีร์ ทุมทอง http://www.ajsupee.com/

(การ์ดคำสอน) ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง

the-hungry-100px
ดูภาพขนาดใหญ่ได้

อ.สุภีร์ ทุมทอง (๖ กันยายน ๒๕๕๕)

“…
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความหิวนี้เป็นโรคอย่างยิ่ง เคยได้ยินไหม

มันเป็นโรคอย่างยิ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หาย กินข้าวเมื่อเช้าไปนะเดี๋ยวกลางวันกินอีกไหม

เหมือนจะหายแต่ไม่หาย เดี๋ยวไปกินอีกแล้ว เดี๋ยวตอนเย็นกินอีกแล้ว

ตื่นเช้าขึ้นมากินอีก ตอนกลางวันกินอีก ตอนเย็นก็กินอีก

ตื่นเช้าขึ้นมาวันใหม่ก็กินอีกแล้ว กลางวันก็กินอีก เย็นก็กินอีก

กลับไปกลับมาอย่างนี้ จนกระทั้งตายแล้วเกิดใหม่

ก็ยังกินข้าวอยู่เลย ยังหิวอยู่เลย

มันเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ร่างกายมันเป็นอย่างนี้ธรรมชาติมันมีโรค และมีความทุกข์ในตัวของมันเอง
…”

จากธรรมบรรยายโดย อ.สุภีร์ ทุมทอง
วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๕

ฟังคลิปเสียง mp3 และอ่านหนังสือ pdf ได้ที่
http://www.ajsupee.com