(การ์ดคำสอน) อิสรภาพในตนเอง และสังคม

คนที่จะไปปลดปล่อยสังคมนั้น
ก็ต้องไม่ประมาทที่จะปลดปล่อยตนเอง
ให้พ้นจากการครอบงำของกิเลสข้างในตัวด้วย
… มิฉะนั้น ตัวเองก็จะถูกพันธนาการ ถูกผูกมัด
และก็จะพลอยทำให้สังคมถูกผูกมัดไปด้วย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ธรรมนิพนธ์ ความเป็นอนิจจังของสังขารกับอิสรภาพของสังคม
https://goo.gl/7JwvFb

ศึกษาข้อธรรมข้อคิดจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ได้ที่ วัดญาณเวศกวัน
http://www.watnyanaves.net

ความเข้าใจเรื่อง กรรมเก่า

“…เหมือนกับการที่ใครคนหนึ่งเดินขึ้นตึก ๓ ชั้น ถึงชั้นที่สามแล้ว ก็แน่นอนว่า การขึ้นมาถึงที่นั่นของเขา ต้องอาศัยการกระทำ คือการเดินที่ผ่านมาแล้วนั้น จะปฏิเสธมิได้ และเมื่อขึ้นมาถึงที่นั่นแล้ว การที่เขาจะเหยียดมือไปแตะพื้นดินข้างล่างตึก หรือจะนั่งรถเก๋งวิ่งไปมาบนตึกชั้นสามเล็กๆ เหมือนอย่างบนถนนหลวง ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ และข้อนี้ก็เป็นเพราะการที่เขาขึ้นมาบนตึกเหมือนกัน ปฏิเสธมิได้ หรือเมื่อเขาขึ้นมาแล้ว จะเมื่อยหมดแรง เดินต่อ ขึ้นหรือลงไม่ไหว นั่นก็ต้องเกี่ยวกับการที่ได้เดินขึ้นมาแล้วด้วยเหมือนกัน ปฏิเสธมิได้ จะเห็นว่าการมาถึงที่นั่นก็ดี การทำอะไรๆ ได้ในวิสัยของที่นั่นก็ดี การที่อาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับอะไรต่ออะไรในที่นั้นอีก ในฐานะที่ขึ้นมาอยู่กับเขา ณ ที่นั้นด้วยก็ดี ย่อมสืบเนื่องมาจากกรรมเก่า คือการที่ได้เดินมานั้นด้วยแน่นอน

แต่การที่เขาจะทำอะไรบ้าง ทำสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องที่นั่นแค่ไหนเพียงไร ตลอดจนว่าจะพักเสียก่อนแล้วเดินต่อ หรือเดินกลับลงเสียจากตึกนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่เขาจะคิดตกลงทำเอาใหม่ ทำได้ และได้ผลตามเรื่องนั้นๆ

แม้ว่าการเดินมาเดิมยังอาจมีส่วนให้ผลต่อเขาอยู่ เช่น แรงเขาอาจจะน้อยไป ทำอะไรใหม่ได้ไม่เต็มที่เพราะเมื่อยเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น ถึงอย่างนั้น ก็เป็นเรื่องของเขาอีกทีว่า จะยอมแพ้แก่ความเมื่อย หรือว่าจะคิดแก้ไขอย่างไร ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเรื่องของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยทั้งนั้น โดยนัยดังที่ได้กล่าวมา จึงควรเข้าใจเรื่องกรรมเก่าเพียงเท่าที่มันเป็นตามกระบวนการของมัน…”

(การ์ดคำสอน) เหมือนนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์

pa-payutto-look-at-the-moon-720px

“…ภาษาเซนเขาบอกเหมือนกับนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์

นิ้วชี้ไปที่พระจันทร์ ก็หมายความว่านิ้วนี้ไม่ใช่พระจันทร์นะ ภาษาก็เหมือนกับนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์ จุดมุ่งเราอยู่ที่พระจันทร์ อย่าเอานิ้วเป็นพระจันทร์ หรืออย่าติดอยู่แค่นิ้ว

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
จากธรรมบรรยายเรื่อง “คนไทยใช่กบเฒ่า?”
๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๑

ผู้ประพันธ์หนังสือ “พุทธธรรม”
หนังสือที่รวบรวมหลักคำสอนและแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน

ฟังคลิปเสียง เหมือนนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์

ศึกษาธรรมะได้ที่เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน

(การ์ดคำสอน) พ้นจากยึดถือและการปล่อยละ

ผู้ใดมีสิ่งที่ยึดถือไว้ ผู้นั้นก็มีสิ่งที่จะต้องปล่อยละ
ผู้ใดมีสิ่งที่จะต้องปล่อยละ ผู้นั้นก็มีสิ่งที่ยึดถือไว้
พระอรหันต์ล่วงพ้นการยึดถือและการปล่อยละไปแล้ว”

ขุ.ม ๒๙/๑๐๗/๙๗
“พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)” หน้า ๑๐๔

(การ์ดคำสอน) ฝากไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔…

พุทธบริษัท ๔
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

จากหนังสือ “พระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ (pdf)” (หน้า ๘)
https://goo.gl/o5T5ru

“…

พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า พระองค์จะปรินิพานต่อเมื่อพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายทั้งปวง คือพระภิกษุทั้งเถระ ทั้งมัชฌิมะ ทั้งนวกะ ภิกษุณีก็เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งอุบาสก อุบาสิกา ทั้งที่ถือพรหมจรรย์และที่เป็นผู้ครองเรือนทั้งหมด ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะรักษาพระศาสนาไว้ คือ

(๑) ต้องเป็นผู้มีความรู้ เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ดีและประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอน

(๒) นอกจากรู้เข้าใจเอง และปฏิบัติได้ดีแล้ว ยังสามารถบอกกล่าวแนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้ด้วย

(๓) เมื่อมีปรับวาทเกิดขึ้น คือ คำจ้วงจาบสอนคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัย ก็สามารถชี้แจงแก้ไขได้ด้วย

ตอนที่พระองค์จะปรินิพพานนั้น มารก็มากราบทูลว่าเวลานี้พุทธบริษัท ๔ มีคุณสมบัติพร้อมอย่างที่พระองค์ได้ตรัสเหมือนกับเป็นเงื่อนไขไว้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าเป็นอย่างนั้นจึงทรงรับที่จะปรินิพพาน โดยทรงปลงพระชนมายุสังขาร

พุทธดำรัสนี้ ก็เหมือนกับว่าพระพุทธเจ้าทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔ แต่ต้องมองให้ตลอดด้วยว่า ทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัทที่เป็นอย่างไร

ชาวพุทธจะเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องที่จรรโลงพระศาสนาไว้ก็เริ่มด้วยมีคัมภีร์ที่จะให้เรียนรู้เข้าใจพระธรรมวินัยอันเป็นของแท้ก่อน

เป็นอันว่า ในแง่นี้พระไตรปิฏกก็เป็นหลักของพุทธบริษัทต้องอยู่คู่กับพุทธบริษัท โดยเป็นฐานให้แก่พุทธบริษัท ซึ่งจะทำให้ชาวพุทธเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะรักษาพระศาสนาไว้ได้

สองฝ่ายนี้ คือ ตัวคนที่จะรักษาพระศาสนากับตัวพระศาสนาที่จะต้องรักษา ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระศาสนาจะดำรงอยู่และจะเกิดผลประโยชน์ ก็ต้องมาปรากฏที่ตัวพุทธบริษัท ๔ ต้องอาศัยพุทธบริษัท ๔ เป็นที่รักษาไว้ พร้อมกันนั้นในเวลาเดียวกัน พุทธบริษัท ๔ จะมีความหมายเป็นพุทธบริษัทขึ้นมาได้ และจะได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนาก็เพราะมีธรรมวินัยที่รักษาไว้ในพระไตรปิฏกเป็นหลักอยู่

…”

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
เพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนา
ผู้นิพนธ์หนังสืออันทรงคุณค่า หนังสือ “พุทธธรรม”

หนังสือ “พระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้”
ดาวโหลดอ่านได้จากที่นี่เลยค่ะ
https://goo.gl/o5T5ru
หรือที่นี่
http://goo.gl/d1BzL7

สามารถสืบค้นและดาวโหลดไฟล์เสียง mp3 หนังสือ pdf
ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) เพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
http://www.watnyanaves.net/th/home