เสียงอ่านหนังสือกลัวเกิดไม่กลัวตาย (PDF, MP3)

อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม - หนังสือกลัวเกิดไม่กลัวตาย
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
หนังสือ “กลัวเกิดไม่กลัวตาย”
(อ่านแบบ PDF) https://makkanuka.files.wordpress.com/2015/02/gluagerd.pdf
(อ่านแบบ เล่ม) http://suanyindee.lnwshop.com/product/5/กลัวเกิดไม่กลัวตาย

ฟังเสียงอ่านหนังสือ MP3
(ขอขอบคุณเสียงอ่านโดย: ทีมความว่าง)

บทนำ : อริยมรรคมีองค์ ๘
(MP3) https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/08/gluagerd-0-intro.mp3

มรรคองค์ที่ ๑ ๒ ๓ ๔ และ ๕
(MP3) https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/08/gluagerd-1.mp3

มรรคองค์ที่ ๖ ๗ และ ๘
(MP3) https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/08/gluagerd-2.mp3

– ไตรสิกขา
– ลักษณะแห่งอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
– นิพพานเพราะไม่ยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ

(MP3) https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/08/gluagerd-3-4.mp3

– ความสำคัญ และความยิ่งใหญ่ของอริยมรรคมีองค์ ๘
– กัลยาณมิตร
– สรุป

(MP3) https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/08/gluagerd-5.mp3

ภาคผนวก
– การละอาสวะนานาแบบ
– อริยสัจจ์ ๔

(MP3) https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/08/gluagerd-6.mp3

บทส่งท้าย
(MP3) https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/08/gluagerd-7.mp3

(อ่าน+ดูภาพประกอบ) “วางตัววางตนลงซะ”

just-put-down-v2-1-6
เวลาตีระฆังทำวัตรเช้า – เย็น หมาทุกตัวในวัดจะหอนเป็นจังหวะตามจังหวะระฆัง พอหยุดตีมันก็หยุดหอนไปด้วย แต่ถ้าตีเมื่อไหร่ก็หอนอีก มันคุมตัวเองไม่ได้ เห็นแล้วก็อดขำและอดสมเพชไม่ได้ที่มันกลายเป็นทาสของระฆังไปแล้ว
แต่มานึกดูให้ดีบ่อยครั้งเราก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกันนะ เพียงแต่ว่าเราอาจไม่ได้มีปฏิกิริยากับเสียงระฆัง แต่มีปฏิกิริยากับเสียงอย่างอื่นแทน เช่นเสียงดัง เสียงตำหนิ พอได้ยินคนต่อว่าเราก็ตอบโต้หรือต่อว่ากลับไปทันที มันเป็นกิริยาโดยอัตโนมัติ หรือถึงแม้ไม่พูดตอบโต้ให้ได้ยินแต่ความรู้สึกขุ่นเคืองก็ผุดขึ้นมาทันที ได้ยินปุ๊บก็โกรธปั๊บเลย เห็นไหมว่าคนเราก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่ใช่เป็นกับสัตว์เท่านั้น
ถามว่าเราเลือกที่จะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้เสียงที่มากระทบทันทีได้ไหม เราทำได้นะถ้าฝึกใจไว้ดี เวลาหูได้ยินเสียงก็เกิดเวทนาขึ้นมา จะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ตรงนั้นแหละถ้ามีสติ มันก็หยุดอยู่แค่เวทนา ไม่ปรุงแต่งออกไปเป็นความโกรธ ความฉุนเฉียว มันไม่ปรุงแต่งออกไปเป็นพฤติกรรมต่อว่า ผลักไส ทำร้าย
การมีสติกำกับจิตโดยเฉพาะเวลาเกิดผัสสะขึ้นมา ตอนที่ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น กายได้สัมผัส อย่างมากก็มีแค่เวทนาทางกายเกิดขึ้น แต่ไม่ปรุงแต่งเป็นเวทนาทางใจ หรือแม้ว่าจะมีเวทนาทางใจ พอมีสติเข้าไปรู้ มันก็หยุดแค่นั้น หลวงพ่อเทียนท่านเปรียบเหมือนกับเอาดินร่วนขว้างไปที่ข้างฝา พอกระทบกับข้างฝา มันก็ตกลงมา แต่ถ้าเป็นคนธรรมดา พอมีผัสสะเกิดขึ้นก็เปรียบเหมือนกับเอาดินเหนียวขว้างไปที่ข้างฝา มันก็ติดข้างฝาเลย คนส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้นคือเมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น ก็ปรุงต่อไปเป็นตัณหา อุปาทาน เวลาได้ยินเสียงต่อว่า แทนที่จะปล่อยผ่านเลยไป ปรากฏว่าเสียงด่าก็ยังติดแน่นที่ใจ ผ่านไปเป็นวันเป็นอาทิตย์ ก็ยังไม่หลุด เก็บเอามาคิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า นึกถึงทีไรเสียงก็ยังดังชัดเจนในความรู้สึกเหมือนกับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อกี้
just-put-down-v2-2
ไม่ใช่คำต่อว่าเท่านั้น เหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ความพลัดพรากสูญเสีย การประสบกับสิ่งไม่น่าพอใจ เมื่อเกิดผัสสะขึ้นมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ มันไม่ได้เกิดขึ้นแล้วดับ แต่ยังค้างคาติดตรึงในจิตใจ ผ่านไปเป็นวันก็ยังประทับแน่นอยู่ นี่แหละที่เขาเรียกว่าอุปาทานหรือความยึดติด หลวงพ่อเทียนจึงเปรียบเหมือนดินเหนียวที่ขว้างไปแล้วติดข้างฝา
แต่ถ้าเรามีสติกำกับจิต เมื่อมีผัสสะแล้ว ก็ไม่มีการปรุงแต่งยืดยาวต่อไป เมื่อตาเห็นรูป ก็สักแต่ว่าเห็น หูได้ยินเสียง ก็สักแต่ว่าได้ยิน มีอยู่แค่นั้น ไม่ปรุงแต่งเป็นความยินดีหรือยินร้าย อยากได้หรืออยากผลักไส ถ้าเป็นดิน ก็เป็นดินทรายที่พอกระทบข้างฝาก็ตกลงมาเท่านั้นเอง
ความปรุงแต่งของจิตมันเกิดขึ้นเมื่อไม่มีสติกำกับใจ โดยเฉพาะเมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น ผัสสะเป็นขั้นตอนสำคัญไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ย่อมเกิดเวทนาหรือความรู้สึกตามมา เช่น รู้สึกสบาย ไม่สบาย เมื่อกายเจอลมเย็นก็รู้สึกสบาย เรียกว่าสุขเวทนา เจอแดดเผาก็รู้สึกไม่สบายคือเกิดทุกขเวทนา นึกถึงคนที่เรารักก็เกิดความชื่นใจ นี่คือสุขเวทนา นึกถึงคนที่เราโกรธเกลียด ก็รู้สึกเร่าร้อนหรือเจ็บปวด นี่คือทุกขเวทนา ปัญหาคือคนเราไม่ได้ยุติแค่นี้ เมื่อไม่มีสติเข้าไปรู้ทันในเวทนา ก็จะปรุงแต่งต่อไปเป็นตัณหาคือความอยาก อะไรที่ทำให้เราชื่นใจก็อยากได้หรืออยากครอบครอง อะไรที่ทำให้เราเจ็บปวดไม่สบาย ก็อยากผลักไสออกไป หรืออยากให้สภาพเช่นนั้นหมดไป ถือว่าเป็นตัณหาด้วยเหมือนกัน เรียกว่าวิภวตัณหา
just-put-down-v2-3-2
พอเกิดตัณหาแล้ว ถ้าปล่อยเลยตามเลย ก็จะปรุงแต่งต่อไปเป็นอุปาทานคือความยึดติด เช่น อยากได้อะไร ก็เฝ้านึกถึงสิ่งนั้น คิดหาหนทางให้ได้มา บางทีหลับไปแล้วก็ยังฝันถึงสิ่งนั้น ชอบใครก็นึกถึงแต่คนนั้น พยายามทุกอย่างเพื่อจะได้อยู่ใกล้เขา เห็นหน้าเขา หรือแม้แต่เห็นหลังคาบ้านเขาก็ยังดี ในทางตรงกันข้าม เกลียดใครก็เฝ้าแต่นึกคิดถึงคนนั้น ทั้ง ๆ ที่ทุกข์แต่ก็ยังวนเวียนคิดถึงคนนั้น โกรธใคร เศร้าโศกเสียใจเรื่องอะไร ก็จะวนคิดถึงเรื่องนั้น อุปาทานมันทำให้ติดแน่นในใจ กินข้าวก็คิด อาบน้ำก็คิด นอนก็คิด นี่คืออาการของอุปาทานหรือความยึดติด
กระบวนการปรุงแต่งของจิตเริ่มต้นมาจากการที่ไม่มีสติเมื่อเกิดผัสสะขึ้นมา แต่ถ้าเรามีสติทันทีที่เกิดผัสสะ มันก็ไม่ปรุงแต่งเป็นเวทนาโดยเฉพาะเวทนาทางใจ หรือเมื่อเวทนาเกิดขึ้นแล้วถึงค่อยมีสติ มันก็หยุดอยู่แค่นั้น ไม่ปรุงต่อ เหมือนกับว่าสะเก็ดไฟเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่มีเชื้อ ก็เลยไม่ลามต่อไปหรือลุกเป็นเปลว มันหยุดแค่นั้น ปล่อยไว้ไม่นานก็ดับ แต่ถ้ามีเชื้อ สะเก็ดไฟก็จะลามหรือลุกเป็นเปลว ตอนนี้แหละที่อารมณ์เกิดขึ้นต่อจากเวทนา ถ้ายังมีเชื้ออีก ไฟก็จะโหมไหม้ เวลาเกิดอารมณ์ขึ้นแล้ว โดยเฉพาะอารมณ์ที่เป็นอกุศล ถ้าปล่อยให้มันปรุงแต่งหรือลุกลามต่อไป ก็จะกลายเป็นพายุอารมณ์ที่เผาไหม้จิตจนไม่อยากจะอยู่ในโลกนี้ นี่เป็นเพราะไม่มีสติรักษาใจ
ทีนี้ถ้าไม่มีสติ มันก็จะปรุงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดความรู้สึกยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนขึ้น ความรู้สึกยึดมั่นเป็นตัวตนหมายความว่าอย่างไร ก็หมายความว่า เกิดความรู้สึก “ตัวกู ของกู”ขึ้นมา เช่น เมื่อความโกรธเกิดขึ้น แทนที่จะมีสติเห็นความโกรธ เราลืมตัวก็เลยไปสำคัญมั่นหมายว่า ฉันโกรธ หรือฉันเป็นผู้โกรธ นี่เรียกว่าตัวตนเกิดขึ้นแล้ว ตรงนี้แหละที่ทางพระเรียกว่า “ชาติ” เกิดขึ้นแล้ว คือเกิดความรู้สึกว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ นี้เป็นเพราะไม่มีสติเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น เลยเข้าไปยึดและปรุงจนเกิดตัวตนขึ้นมาว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ หรือมีตัวฉันเข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์เหล่านั้น แต่ถ้ามีสติ ก็เพียงแค่เห็นเฉย ๆ การปรุงว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ก็ไม่เกิดขึ้น ถ้าเห็นความโกรธ ผู้โกรธก็ไม่เกิดขึ้น เห็นความโกรธกับเป็นผู้โกรธต่างกันมากนะ เห็นความเศร้ากับเป็นผู้เศร้าก็ต่างกันมากเช่นกัน
just-put-down-v2-3-1
มีผู้หญิงคนหนึ่งปฏิบัติกับหลวงพ่อคำเขียน พอทำไปได้สองสามวันก็มาปรึกษาหลวงพ่อว่า “ทำอย่างไรดี หนูเครียดจังเลย” เธอทำด้วยความตั้งใจมากจึงเครียด หลวงพ่อไม่ตอบแต่บอกว่า “ ถามไม่ถูก ให้ถามใหม่ ” เธอได้คิดขึ้นมาเพราะว่าฟังเทศน์หลวงพ่อมาหลายวันแล้ว จึงถามใหม่ว่า “ทำอย่างไรดี ในใจหนูมีความเครียดมากเลย”
มันต่างกันนะ “หนูเครียดจังเลย” กับ “ในใจหนูมีความเครียดมากเลย” ประโยคแรกแสดงว่าเข้าไปเป็นผู้เครียดแล้ว แต่ประโยคที่สองแสดงว่าเขาเห็นความเครียด แต่อาจเป็นเพราะยังเห็นไม่ตลอด เห็นแล้วยังเผลอเข้าไปเป็น เป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ก็เลยทุกข์ แต่ก็ยังดีที่พอเห็นอยู่บ้าง แต่ถ้าเห็นล้วน ๆ ไม่เข้าไปเป็นเลยก็จะไม่ทุกข์เท่าไหร่ นี่แหละ “ผู้เห็น” กับ “ผู้เป็น” มันต่างกัน ถ้าเราเข้าไปเป็นแล้วแสดงว่าตัวกูเกิดขึ้นแล้ว ความรู้สึกยึดมั่นสำคัญหมายว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตัวกูเกิดขึ้นแล้ว พอตัวกูเกิดขึ้น ความรู้สึกว่าเป็นของกูก็ตามมา เช่น เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ปรุงไปเป็นผู้โกรธ ทีนี้ก็จะไปยึดเอาความโกรธเป็นของฉันด้วย
การเกิดที่ว่ามาเป็นการเกิดทางจิตใจซึ่งเกิดขึ้นได้มากมายวันละหลายครั้ง ตรงข้ามกับการเกิดเป็นรูปเป็นร่างซึ่งเกิดได้เพียงครั้งเดียว แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือการเกิดทางกายและทางใจต้องอาศัยพ่อและแม่ พระพุทธเจ้าเรียกตัณหาและมานะว่าเป็นพ่อและแม่ มีพระรูปหนึ่งบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แล้วมาทูลลาพระพุทธเจ้า เมื่อพระรูปนั้นเดินออกไปก็มีพระกลุ่มใหม่เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสกับพระกลุ่มนี้ว่า พระที่เพิ่งเดินผ่านไปนั้นบรรลุธรรมแล้วเพราะได้ฆ่าพ่อฆ่าแม่ พระที่ได้ยินก็ตกใจว่าฆ่าพ่อฆ่าแม่แล้วจะบรรลุธรรมได้หรือ พระพุทธเจ้าก็อธิบายว่าท่านได้ฆ่าตัณหาและมานะแล้ว
ตัณหาและมานะเปรียบเสมือนพ่อและแม่ เพราะเป็นปัจจัยทำให้เกิดตัวตนขึ้นมา เป็นเพราะตัณหาและมานะ จึงเกิดความรู้สึกเป็นตัวกูของกูขึ้นมา เกิดความสำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ และถือเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาเป็นของฉันตลอดเวลา นอกจากความรู้สึกว่าเป็นผู้ทุกข์ ผู้เศร้า แล้ว ความรู้สึกฉันเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นนักปฏิบัติ เป็นพระ เป็นผู้ชนะหรือเป็นผู้แพ้ ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นตัวกูของกู และขึ้นชื่อว่าตัวกูของกู เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น ทุกข์ก็เพราะว่าความรู้สึกสำคัญมั่นหมายนั้นมีกิเลสเจือปนอยู่เสมอ คืออยากให้เป็นไปตามใจฉัน พอมันไม่เป็นไปตามใจฉันก็ทุกข์ เช่นเป็นผู้ชนะ ดูเผิน ๆ ก็มีความสุขดี แต่ลึก ๆ ก็มีความหวั่นกลัวว่าความเป็นผู้ชนะจะถูกแย่งชิงไป เห็นใครเก่งกว่าก็ทุกข์ขึ้นมาทันทีเพราะรู้สึกถูกคุกคาม รู้สึกว่าตัวเองจะสูญเสียความเป็นผู้ชนะไป เห็นไหมว่าไม่ใช่ผู้แพ้เท่านั้นที่ทุกข์ เป็นผู้ชนะก็ทุกข์
just-put-down-v2-4
เป็นพ่อเป็นแม่ก็ทุกข์เวลาลูกพูดจาไม่ดีกับตน หรือเป็นทุกข์เมื่อลูกไม่เป็นไปตามใจตน นี่เป็นเพราะยังมีกิเลสและอุปาทานของความเป็นแม่อยู่ บางคนถึงกับฆ่าตัวตายเพราะลูกไม่พูดไม่คุยด้วย ลูกเอาแต่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แม่จะพูดอย่างไรก็ไม่สนใจ แม่ขู่ว่าจะโดดตึกลูกก็ยังไม่สนใจ แม่ก็เลยน้อยใจโดดตึกตาย ตายเพราะว่ายึดมั่นในความเป็นแม่มาก จึงมีความอยากจะให้ลูกปฏิบัติกับตนอย่างนั้นอย่างนี้ แต่พอลูกไม่ทำตาม ความเป็นแม่ก็ถูกกระทบอย่างแรง จนทนไม่ได้อีกต่อไป
เป็นอะไรก็ตามก็ทุกข์ได้ทั้งนั้น เป็นพระก็ทุกข์เวลาญาติโยมพูดจาไม่มีสัมมาคารวะ แค่เขาไม่กราบไม่ไหว้เราก็ไม่พอใจแล้ว นึกในใจว่า เอ๊ะ ฉันเป็นพระนะ เธอเป็นฆราวาสทำไมไม่ไหว้ฉัน อาการอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะไปยึดมั่นสำคัญหมายในความเป็นพระโดยมีกิเลสเจือปนอยู่ด้วย และถ้าสังเกตให้ดีความยึดมั่นสำคัญหมายว่าเป็นนั่นเป็นนี่ มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อยู่ในวัดฉันเป็นนักปฏิบัติธรรม พอออกไปในหมู่บ้าน เจอชาวบ้าน ก็เกิดความรู้สึกว่าฉันเป็นคนเมือง แต่ถ้าไปเจอฝรั่งหรือญี่ปุ่น ความรู้สึกว่าฉันเป็นคนไทยก็เกิดขึ้นแทนที่ กลับไปบ้านเจอลูก ก็เกิดความรู้สึกว่าเป็นพ่อแม่ เห็นไหมว่า ความรู้สึกเป็นนั่นเป็นนี่มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความเป็นฉันมันไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตนก็เพราะเหตุนี้
ที่ว่าตัวตนเป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมาก็เพราะเหตุนี้ แต่เราไม่รู้ เรานึกอยู่เสมอว่าตัวฉันนั้นมันเที่ยง หรือมีอยู่จริง ๆ แต่ความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ถูกปรุงขึ้นในใจเราสุดแท้แต่เหตุปัจจัย เช่น ไปเจอคนต่างชาติต่างภาษา ความรู้สึกว่าฉันเป็นคนไทยก็เกิดขึ้น แต่พอเจอคนใต้ ความรู้สึกว่าฉันเป็นคนกรุงเทพ ฯ หรือคนอีสานก็เกิดขึ้น แม้แต่คนอีสาน พอมาเจอกัน ความรู้สึกว่าฉันเป็นคนชัยภูมิก็เกิดขึ้น หากว่าอีกคนเป็นคนขอนแก่น เราปรุงเราสร้างความเป็นตัวฉันอยู่ตลอดเวลาสุดแท้แต่เหตุปัจจัย อันนี้แหละที่เราเรียกว่าตัวตนเป็นสิ่งสมมุติ เพราะมันไม่ได้มีอยู่จริง แต่เกิดจากการปรุงแต่ง ความปรุงแต่งเหล่านี้เราไม่รู้ทัน ก็เลยไปยึดด้วยความหลงว่าตัวฉันนี้มีอยู่จริง แล้วยังยึดต่อไปด้วยความอยากว่าตัวฉันเป็นของเที่ยง ต้องคงอยู่ตลอดไป เราจึงยอมรับความตายไม่ได้
just-put-down-v2-5
มีนายทหารคนหนึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญ เป็นวีรบุรุษชายแดน เขาเคยพูดว่าทหารที่ฆ่าตัวตายไม่ใช่ชายชาติทหาร เขายังบอกอีกว่าคนอย่างเขาไม่มีวันฆ่าตัวตาย ความรู้สึกว่าฉันเป็นชายชาติทหารฝังแน่นในใจจนเขามั่นใจว่าจะไม่มีวันฆ่าตัวตายเด็ดขาด แล้ววันหนึ่งเขาก็เป็นมะเร็ง เจ็บปวดทรมานมาก เขาทนความเจ็บปวดอยู่หลายปี ในที่สุดก็ยิงตัวตาย ทีแรกใคร ๆ ก็นึกว่าเป็นฆาตกรรม เพราะไม่คิดว่าคนอย่างเขาจะฆ่าตัวตายได้ เพราะเคยลั่นวาจาว่าคนที่ฆ่าตัวตายไม่ใช่ชายชาติทหาร แต่ในที่สุดหลักฐานก็บ่งชี้ว่าเขาฆ่าตัวตายจริง ๆ คำถามคือชายชาติทหารอย่างเขาฆ่าตัวตายได้อย่างไร คำตอบก็คือว่าตอนนั้นเขาไม่รู้สึกว่าตัวเป็นชายชาติทหารแล้ว แต่เป็นผู้ป่วย เป็นผู้เจ็บปวดทรมาน ความสำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็นชายชาติทหารได้หมดไป ความสำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็นคนป่วยที่ทุกข์ทรมานมาแทนที่ ความสำคัญมั่นหมายอย่างหลังนี้เองที่ทำให้เขาตัดสินใจยิงตัวตาย
กรณีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าความสำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ไม่มีความเที่ยงแท้ แม้เขาจะเคยมั่นใจอย่างแรงกล้าว่าตัวตนของฉันคือชายชาติทหาร แต่ตัวตนนี้ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นเรื่องที่ปรุงขึ้นมาตามเหตุปัจจัย ถึงเวลาเหตุปัจจัยเปลี่ยน ตัวตนที่ว่าก็เปลี่ยนไปด้วย และอาจเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้ามก็ได้ และพอรู้สึกว่าตัวฉันคือผู้ป่วยที่เจ็บทรมาน อย่างเดียวที่ต้องการก็คือพ้นจากความเจ็บปวดทุกวิถีทาง แม้จะต้องฆ่าตัวตายก็ยอม
ความเป็นตัวตนมันไม่ยั่งยืนถาวรเพราะมันเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย พอเหตุปัจจัยเปลี่ยน มันก็เปลี่ยนไปด้วย เหตุปัจจัยนี้อาจจะได้แก่ปัจจัยภายใน เช่น ความรู้สึกนึกคิด และปัจจัยภายนอก เช่น ผู้คนแวดล้อม ทั้งหมดนี้ล้วนไม่เที่ยงทั้งนั้น โดยเฉพาะใจของเราเอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่แล้ว ความเป็นตัวฉันก็เลยผันแปร เปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ และอย่างที่บอกไว้แล้ว เป็นอะไรก็ตามมันก็ทุกข์ทั้งนั้น ไม่ว่าเป็นในทางที่ดี หรือไม่ดีก็ตาม เป็นผู้แพ้ก็แน่อยู่แล้วว่าต้องทุกข์ แต่เป็นผู้ชนะหรือคนเก่งก็หนีความทุกข์ไม่พ้นเช่นกัน เจอใครที่เก่งแม้จะไม่เท่าเรา แต่ก็ระแวงว่าเขาจะมาแย่งชิงความเป็นผู้ชนะไปจากเรา และถ้าเขาแย่งชิงไปได้ ก็จะเป็นทุกข์ยิ่งขึ้น เพราะสูญเสียความเป็นผู้ชนะไป พูดอีกอย่างคือตัวฉันที่เป็นผู้ชนะได้ตายไป อันนี้คือความตายอย่างหนึ่งที่เราเจออยู่บ่อย ๆ แม้จะยังไม่หมดลม
เป็นอะไรก็ทุกข์ทั้งนั้น ถ้าจะให้ดีก็คือไม่เป็นอะไรเลย ไม่เป็นอะไรเลยหมายความว่าอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยใช่ไหม ไม่ใช่ แต่หมายความว่าเราจะทำอะไรก็ตามเราอย่าไปยึดมั่นสำคัญหมายว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ ใครเขาจะเรียกเราว่าเป็นอะไรก็แล้วแต่ ก็รู้ว่านั่นเป็นสมมุติ แม้เราจะบอกกับคนอื่นว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ แต่ก็ไม่ได้ไปยึดมั่นนั่นคือตัวฉันจริง ๆ ถ้าไปคิดเช่นนั้นก็เรียกว่าหลงแล้ว และเตรียมตัวทุกข์ได้เลย
just-put-down-v2-6
มีเรื่องเล่าว่าครูคนหนึ่งสอนหนังสืออยู่แถววัดสระเกศ วันหนึ่งรู้สึกกลุ้มใจจึงเดินขึ้นไปบนภูเขาทอง พอถึงยอดภูเขาทองแล้วมองออกไปไกล ๆ เห็นโลกกว้างสุดสายตา ก็รู้สึกเบาสบาย ความกลุ้มใจก็คลายไป ทีนี้พอแกเครียดทีไรก็จะขึ้นไปบนภูเขาทอง ขึ้นแล้วก็รู้สึกโปร่งโล่งเบาสบาย บางวันขึ้นสองสามรอบ ทำเช่นนั้นเป็นปี
เผอิญมีนักข่าวคนหนึ่งไปเที่ยวภูเขาทอง ได้ยินเรื่องเล่าจากเจ้าหน้าที่ที่นั่นว่ามีครูคนหนึ่งขึ้นภูเขาทองวันหนึ่งไม่รู้กี่เที่ยว ก็เลยสนใจไปทำข่าว พอเรื่องราวของเขาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เขาก็ได้รับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์ จึงดังเข้าไปใหญ่ ได้รางวัลหลายรางวัล ได้รับสมญานามว่าเป็นนักขึ้นภูเขาทองที่ไม่มีใครเทียบทาน
ถึงตอนนี้ก็มีหลายคนอยากเป็นนักขึ้นภูเขาทองบ้าง หลายคนอยากลบสถิติของเขาซึ่งขึ้นภูเขาทองมาเป็นพัน ๆ ครั้ง ครูคนนี้ทีแรกขึ้นภูเขาทองโดยไม่ได้นึกอะไรแต่พอมีคนยกย่องว่าเขาเป็นนักขึ้นภูเขาทอง ความรู้สึกว่าฉันเป็นนักขึ้นภูเขาทองก็เกิดขึ้นกับครูคนนี้ รู้สึกภูมิใจเพราะโลกนี้มีคนเดียวที่เป็นนักขึ้นภูเขาทอง แต่พอรู้ว่ามีคนจะมาลบสถิติ ก็ไม่สบายใจขึ้นมา เพราะกลัวว่าความเป็นนักขึ้นภูเขาทองจะถูกแย่งชิงไป เขาจึงต้องขึ้นภูเขาทองให้บ่อยขึ้น แต่ก่อนพอขึ้นแล้วมีความสุข สบายใจ แต่ตอนนี้กลายเป็นหน้าที่ไปแล้ว ต้องขึ้นเพื่อที่จะไม่ให้ใครมาลบสถิติหรือแย่งชิงตำแหน่งนักขึ้นภูเขาทองไป เขาเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นเมื่อมีคนหนึ่งขึ้นภูเขาทองมากเกือบเท่าเขา ถึงตอนนี้เขาก็เริ่มนอนไม่หลับ คิดแต่ว่าจะต้องขึ้นให้บ่อยขึ้นแม้งานจะเยอะก็ตาม
นี่เป็นเรื่องแต่ง แต่ว่าก็สอดคล้องกับชีวิตจริงของคนเรา คนเราเวลาทำอะไรก็ตามถ้าไม่ได้นึกว่าฉันเป็นนั่นเป็นนี่ก็ไม่ทุกข์นะ แต่พอรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมาก็เป็นทุกข์ อย่างเช่นครูในเรื่องนี้ ตอนแรก ๆ ขึ้นภูเขาทองโดยไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นนักขึ้นภูเขาทอง แต่พอผู้คนเรียกขานว่าเขาเป็นนักขึ้นภูเขาทอง ก็เลยเกิดความรู้สึกขึ้นมาจริง ๆ ว่าฉันเป็นนักขึ้นภูเขาทอง พอคิดแบบนี้แล้วก็ไม่อยากสูญเสียความเป็นนักขึ้นภูเขาทอง ดังนั้นจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อรักษาตัวตนอันนี้ไว้
เพราะเหตุนี้ถึงบอกว่าความมีความเป็นทำให้เราทุกข์ได้ มีก็ทุกข์ เพราะอยากจะรักษาเอาไว้ไม่ให้มันหายไป พอหายไปก็ทุกข์อีก มีอะไรก็ตาม ถ้าไปยึดมั่นกับมัน ก็ทำให้ทุกข์ แม้จะเป็นสุขแต่ก็มีทุกข์เจือปน ในพระไตรปิฎกมีพระสูตรหนึ่งเล่าถึงการโต้ตอบระหว่างเทวดากับพระพุทธเจ้า เทวดาว่า มีลูกก็เป็นสุขเพราะลูก มีวัวก็เป็นสุขเพราะวัว แต่พระพุทธเจ้าก็พูดแย้งว่า มีลูกก็ทุกข์เพราะลูก มีวัวก็ทุกข์เพราะวัว มีอะไรก็ตามย่อมทุกข์เพราะสิ่งนั้น โดยเฉพาะเมื่อไปสำคัญมั่นหมายว่ามันเป็นของฉัน บ้านของฉัน ลูกของฉัน ก็เตรียมทุกข์ไว้ได้เลยเพราะว่าสักวันหนึ่งก็จะต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น ถ้าเราไม่พลัดพรากจากสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็พลัดพรากจากเรา มันก็มีสองอย่างเท่านั้นแหละทันทีรู้สึกเป็นเจ้าของสิ่งนั้น
เพราะฉะนั้นจะมีหรือจะเป็นอะไรก็ตามต้องมีหรือเป็นให้ถูกต้อง มีให้เป็น เป็นให้เป็น คือมีโดยไม่ยึดมั่นว่าเป็นของฉัน และเป็นโดยไม่ไปยึดมั่นว่าเป็นตัวฉัน เดี๋ยวนี้เรามีกันไม่เป็น และก็เป็นกันอย่างไม่ถูกต้อง คือเป็นด้วยความยึดมั่นถือมั่น มีด้วยความหลงก็เลยทุกข์ ดีที่สุดก็คือไม่มีไม่เป็นอะไรเลย
just-put-down-v2-7
มีพราหมณ์คนหนึ่งเห็นพระพุทธเจ้ามีรูปลักษณะดี มีสง่าราศีมาก ไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน ก็แปลกใจ ถามว่าท่านเป็นเทวดาหรือ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าไม่ใช่ ถามว่าท่านเป็นคนธรรพ์หรือ พระพุทธเจ้าก็ปฏิเสธ งั้นเป็นยักษ์ใช่ไหม พระพุทธเจ้าก็ปฏิเสธอีก เขาถามว่าท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า พระพุทธเจ้าก็บอกไม่ใช่ พราหมณ์งงก็งงเลยถามว่าแล้วท่านเป็นใคร พระพุทธเจ้าก็ไม่ตอบตรง ๆ แต่ตรัสว่าให้ถือว่าพระองค์เป็น “ พุทธะ” แล้วกัน เพราะกิเลสที่จะทำให้พระองค์เป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ พระองค์ละได้หมดแล้ว จึงไม่เป็นอะไรทั้งสิ้น
พระพุทธองค์ไม่ถือว่าพระองค์เป็นอะไรเลย แม้แต่ “ พุทธะ” ก็เป็นสมมุติที่มีไว้เพื่อใช้เรียกเท่านั้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงถือว่าพระองค์เป็นอะไรแม้กระทั่งพุทธะด้วยซ้ำ แต่ว่าเพื่อความสะดวกในการสื่อสารก็ให้เรียกพระองค์ว่าพุทธะ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ว่าแม้กระทั่งพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เป็นอะไรทั้งสิ้น ถ้าจะเป็นนั่นเป็นนี่ก็เพราะคนอื่นเรียกทั้งนั้น ในจิตใจของพระองค์ก็ไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นอะไร เพราะว่าตัณหามานะหมดไปแล้ว กิเลสที่จะทำให้เป็นนั่นเป็นนี่ก็ไม่มีแล้ว
ดังนั้นเราจึงควรระลึกอยู่เสมอว่า ไม่ว่าเราเป็นอะไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น จึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น เพราะถ้ายึดมั่นถือมั่นเราก็จะเป็นทุกข์ เพราะตัณหามานะจะแฝงซ่อนอยู่กับความเป็นนั่นเป็นนี่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม เป็นผู้แพ้ก็ทุกข์ เป็นผู้ชนะก็ทุกข์ เป็นคนชั่วก็ทุกข์ เป็นคนดีก็ทุกข์ เป็นนักปฏิบัติธรรมก็ทุกข์ทันทีที่ไปยึดมั่นว่าฉันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ใครที่สำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็น นักปฏิบัติธรรม พอมีคนมาพูดว่า “ เธอไม่มีสติเลย ” จะโกรธและเป็นทุกข์มาก ว่าอย่างอื่นไม่ว่ามาว่าฉันไม่มีสติ นี้แหละเป็นเพราะเราไปยึดมั่นสำคัญหมายว่าฉันเป็นนักปฏิบัติธรรม เลยถูกตัณหาที่แฝงอยู่ในความเป็นนักปฏิบัติธรรมเล่นงานเอา
มองให้เห็นว่าความเป็นนั่นเป็นนี่เป็นสิ่งสมมุติที่ถูกปรุงขึ้นมา ไม่ใช่ของจริง แต่ถึงแม้จะยังมองไม่เห็นว่าเป็นสิ่งสมมุติ อย่างน้อยก็ให้เราตระหนักว่าความเป็นนั่นเป็นนี่มันไม่เที่ยง ถ้าไปยึดมั่นให้มันเที่ยงเราเองนั่นแหละจะเป็นทุกข์ ความยึดมั่นถือมั่นเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ แต่ถ้าจะให้ดีก็ต้องมองให้ลึกลงไปจนกระทั่งรู้ว่านี่มันเป็นสมมุติจริง ๆ เป็นสิ่งที่เราปรุงขึ้นมา ทั้งหมดนี้เริ่มตั้งแต่ผัสสะเกิดขึ้น เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ผัสสะเกิดขึ้นมาแล้วไม่มีสติ ก็จะเกิดเวทนาทางใจ เวทนาเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีสติอีก มันก็จะปรุงต่อไปเป็นตัณหา ถ้าสติยังตามไม่ทัน คราวนี้ก็จะปรุงเป็นอุปาทาน แล้วเลยไปเป็นภพชาติเลย เป็นภพชาติแล้วมันไม่จบแค่นั้น สิ่งที่ตามมาก็คือเกิดชรา มรณะ และความทุกข์ในที่สุด ไม่ว่าเราจะเป็นอะไรก็ตาม มันไม่เที่ยง ต้องแปรเปลี่ยน อาการที่แปรเปลี่ยนนั้นก็คือชรามรณะนั่นเอง
just-put-down-v2-8
ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นที่จะถูกคุกคามด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ทำให้ต้องแปรเปลี่ยนหรือสูญสลายไป ไม่ว่าเป็นนักขึ้นภูเขาทองหรือชายชาติทหารก็ตาม จะยึดมั่นถือมั่นแค่ไหนก็ตาม สักวันความเป็นนักขึ้นภูเขาทองหรือความเป็นชายชาติทหาร ก็ต้องหมดไป หรือถูกพรากไป เช่น พอถูกมะเร็งเล่นงาน ความรู้สึกว่าเป็นชายชาติทหารก็หมดไป ความเป็นผู้เจ็บ ผู้ทุกข์ทรมานก็มาแทนที่ เกิดความรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ที่ไม่มีศักดิ์ศรี น่าหยามหยัน เกิดความทุกข์ท่วมท้น
อย่าให้เกิดการปรุงแต่งจนไปสู่ความทุกข์ ควรเริ่มต้นด้วยการมีสติตั้งแต่ตอนเกิดผัสสะ แต่ถึงแม้สติตามไม่ทันในผัสสะ ก็ขอให้มีสติรู้ทันในเวทนา และในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เห็นความโกรธเกิดขึ้น ความอยากเกิดขึ้น แต่ไม่เข้าไปเป็นผู้โกรธผู้อยาก แม้กระทั่งเวลาปฏิบัติธรรม เราเดินจงกรมหรือสร้างจังหวะก็ดี ควรเห็นอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รู้ตัวว่ากำลังเดินอยู่แต่อย่าเผลอคิดว่าฉันกำลังเดิน อย่าให้ความเป็นผู้เดินเกิดขึ้น ให้รู้แต่ว่ามีการเดิน มีการเคลื่อนไหวมือไปมา แต่ไม่ใช่ไปสำคัญมั่นหมายว่าฉันกำลังเดิน ฉันกำลังเคลื่อนไหวมือไปมา ฉันกำลังตามลมหายใจ นั่นไม่ถูกแล้ว เรากำลังปล่อยให้ตัวตนเกิดขึ้นแล้ว อย่าไปปรุงแต่งเป็นตัวตนอย่างนั้น
just-put-down-v2-9
แม้กระทั่งความทุกข์เมื่อเกิดขึ้นก็เห็นความทุกข์ แต่ไม่ใช่เป็นผู้ทุกข์ เมื่อตากระทบรูป การเห็นเกิดขึ้น แต่อย่าให้มีฉันเป็นผู้เห็น เมื่อหูได้ยินเสียง การได้ยินเกิดขึ้น แต่อย่าให้มีฉันเป็นผู้ได้ยิน เพราะถ้ามีตัวฉันเป็นผู้ได้ยิน เดี๋ยวก็มีตัวฉันเป็นผู้ทุกข์เพราะได้ยินเสียงดัง หรือคำตำหนิ เวลาร่างกายมีแผล ก็รู้ว่ามีแผลเกิดขึ้นกับร่างกาย อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่าฉันมีแผล มีดบาดนิ้วก็ให้รู้ว่ามีดบาดนิ้วไม่ใช่ไปปรุงแต่งว่ามีดบาดฉัน อย่าปล่อยให้มีตัวฉันหรือตัวกู เพราะถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีตัวฉันเป็นผู้ทุกข์ในที่สุด หรือมีตัวฉันเป็นผู้รับแรงกระทบกระแทกต่าง ๆ ถ้าไม่มีตัวฉันเกิดข้นแล้ว เราจะมีชีวิตที่โปร่งเบา เป็นอิสระ ความทุกข์ไม่มีที่ตั้ง เพราะไม่มีตัวฉันมาเป็นเจ้าของความทุกข์
ใหม่ ๆ เรายังไม่สามารถที่จะมองเห็นตรงนี้ได้ แต่ว่าเมื่อเราดูและเห็นอยู่เรื่อย ๆ ปัญญาหรือความประจักษ์ในความจริงเหล่านี้ก็ค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น ชัดเจนขึ้น แล้วเราก็จะรู้ว่า เราทุกข์เพราะปล่อยให้ตัวกูของกูเกิดขึ้นโดยแท้ นี่แหละคือต้นแห่งความทุกข์ทั้งปวง
just-put-down-v2-10
เนื้อหาจากหนังสือ “ตื่นรู้ที่ภูหลง”
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
จากตอนที่ชื่อว่า เหนือตัวตน พ้นสมมุติ (mp3)

สามารถศึกษาข้อธรรมะเพิ่มเติมจาก พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ได้ที่
http://www.visalo.org/ และ http://www.pasukato.org/

เสียงอ่านหนังสือ “คู่มือมนุษย์” เล่มนี้ดังมากๆๆๆ

หนังสือเล่มนี้ดังมากๆๆเลย
เคยอ่านไหมคะ

โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

handbook_for_mankind

ฟังแล้วได้ความรู้และประโยชน์มากๆ
บางอย่างเกี่ยวชีวิตจิตใจมนุษย์

พึ่งรู้ว่าเล่มนี้มีไฟล์เสียงอ่านหนังสือออกมาด้วยล่ะ เจอโดยบังเอิญ
เป็นเสียงอ่านประกอบคลอด้วยดนตรี

เสียงอ่าน+เสียงดนตรีก็น่าฟังมากค่ะ
ดาวโหลดฟังจากที่นี่เลยค่ะ

1. ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-01.mp3

2. พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-02.mp3

3. ไตรลักษณ์ ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-03.mp3

4. อุปาทาน อำนาจของความยึดติด
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-04.mp3

5. ไตรสิกขา ขั้นของการปฏิบัตศาสนา
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-05.mp3

6. เบญจขันธ์ คนเราติดอะไร
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-06.mp3

7. การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-07.mp3

8. การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-08.mp3

9. ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/human-handbook-09.mp3

———-
สำหรับเวอร์ชั่น pdf ดาวโหลดที่นี่นะคะ (สำหรับท่านที่ชอบแบบอ่านมากกว่า)
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/10/handbook_for_mankind.pdf

พระไตรปิฎก หลายอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เขียนอธิบายที่มาที่ไป ความเป็นมาพระไตรปิฏกไว้ดีมากๆเลย
1361284264-4-o

ท่านอธิบายให้เราได้รู้ว่า มีหลายอย่างหลายเรื่องมากที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เราอาจไม่ทันได้มองเห็นมุมนี้มาก่อน

ก็ได้มารู้จากการอ่านเล่มนี้นี่ละ
https://goo.gl/d1BzL7

แถมอันนี้ให้ด้วยค่ะ

อันนี้เป็น mp3 บทสนทนา
ที่มีพระถามท่านพระพรหมคุณาภรณ์
เกี่ยวกับเรื่องพระไตรปิฏก
ลองฟังแล้ว มีหลายแง่มุมน่าสนใจมากเลย

พระไตรปิฎกบาลีนี้ รักษากันมาอย่างไร
https://goo.gl/EchVDz

พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1
https://goo.gl/JQWTLN

พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2
https://goo.gl/pL4mDQ

พอฟังแล้วได้ความรู้มากมายจริงๆ (-/\-)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ผู้เป็นปราชญ์เอกแห่งกรุงรัตนโกสิน
ผู้เขียนหนังสือ “พุทธธรรม” อันลือลั่น

ศึกษางานของท่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
วัดญาณเวศกวัน
http://www.watnyanaves.net/th/home

เสียงอ่านหนังสือ ชวนม่วนชื่น (mp3)

chun-mun-chune

ฟังสนุกๆเพลินๆดีค่ะ มีแง่คิดมุมมองต่อโลก และคุณค่ากับชีวิตเราหลายอย่างจริงๆ เป็นไฟล์เสียงอ่านมีเสียงประกอบดนตรีคลอนิดๆ

“ชวนม่วนชื่น” เป็นหนังสือที่เขียนโดย
พระอาจารย์พรหมวงโส
(เสียงอ่านโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล)
หรือดาวโหลดอ่าน pdf ได้ที่นี่
https://goo.gl/hkDvz1
โด่งดังมากค่ะเรื่องนี้ แนะนำเลย ลองดาวโหลดไปฟังดูนะ

001 – คำปรารภในการทำซีดี
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/001.mp3

002 – คำนำ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/002.mp3

003 – จากผู้แปล
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/003.mp3

004 – คำอุทิศกุศล
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/004.mp3

005 – บทที่ 1 ความสมบูรณ์แบบและความรู้สึกผิด ก้อนอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/005.mp3

006 – สวนเซน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/006.mp3

007 – เท่าที่ทำแล้วก็เสร็จแล้ว
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/007.mp3

008 – ทำสวนทวนทุกข์
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/008.mp3

009 – ความรู้สึกผิดและการให้อภัย
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/009.mp3

010 – ความรู้สึกผิดของอาชญากร
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/010.mp3

011 – เด็กนักเรียนห้อง ข
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/011.mp3

012 – เด็กน้อยในซุปเปอร์มาเก็ต
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/012.mp3

013 – ผิดกันถ้วนหน้า
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/013.mp3

014 – จงปล่อยวางความรู้สึกผิดตลอดกาล
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/014.mp3

015 – บทที่ 2 ความรักและการอุทิศตน ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/015.mp3

016 – เปิดประตูใจไว้
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/016.mp3

017 – การอุทิศตน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/017.mp3

018 – ไก่กับเป็ด
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/018.mp3

019 – ขอบคุณข้อบกพร่อง
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/019.mp3

020 – เรื่องรักๆ ใคร่ ๆ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/020.mp3

021 – รักแท้
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/021.mp3

022 – บทที่ 3 ความหวาดกลัวและความเจ็บปวด อิสระจากความหวาดกลัว
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/022.mp3

023 – ทำนายทายทักอนาคต
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/023.mp3

024 – การพนัน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/024.mp3

025 – ความกลัวคืออะไร
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/025.mp3

026 – ประหม่าหน้าคน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/026.mp3

027 – กลัวความเจ็บปวด
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/027.mp3

028 – ปล่อยวางความเจ็บปวด
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/028.mp3

029 – เจ็บนิดๆไม่นาน ดีกว่าใช้ยาช่วยถอนฟัน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/029.mp3

030 – ไม่มีกังวล
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/030.mp3

031 – บทที่ 4 ความโกรธกับการให้อภัย ความโกรธ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/031.mp3

032 – การพิจารณาคดี
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/032.mp3

033 – งานปฏิบัติธรรม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/033.mp3

034 – ปีศาจกินความโกรธ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/034.mp3

035 – ไม่ไหวแล้ว พอกันที ฉันไม่อยู่แล้ว
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/035.mp3

036 – วิธีการที่จะระงับการต่อต้านการปกครอง
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/036.mp3

037 – สงบลงด้วยการให้อภัย
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/037.mp3

038 – การให้อภัยเชิงสร้างสรรค์
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/038.mp3

039 – บทที่ 5 สร้างความสุข การยกย่องชมเชยพาเราไปได้ทุกแห่ง
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/039.mp3

040 – วีไอพี เป็นได้อย่างไร
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/040.mp3

041 – สองนิ้วช่วยยิ้ม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/041.mp3

042 – คำสอนที่ล้ำค่า
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/042.mp3

043 – แล้วมันจะผ่านพ้นไปเช่นกัน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/043.mp3

044 – การเสียสละเยี่ยงวีรบุรุษ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/044.mp3

045 – ขี้วัวเต็มคันรถบรรทุก
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/045.mp3

046 – มากเกินไปที่จะหวัง
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/046.mp3

047 – ถังขยะก้นรั่ว
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/047.mp3

048 – มันอาจจะยุติธรรมก็ได้
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/048.mp3

049 – บทที่ 6 ปัญหาวิกฤติและการแก้ไขด้วยเมตตา กฏแห่งกรรม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/048.mp3

050 – ดื่มชาเมื่อไม่มีทางออก
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/050.mp3

051 – ไปตามกระแส
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/051.mp3

052 – ติดกับระหว่างเสือและงู
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/052.mp3

053 – คำแนะนำเพื่อชีวิต
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/053.mp3

054 – มีปัญหารึ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/054.mp3

055 – การตัดสินใจ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/055.mp3

056 – การโทษผู้อื่น
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/056.mp3

057 – คำถามสามข้อของจักรพรรดิ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/057.mp3

058 – วัวร้องไห้
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/058.mp3

059 – เด็กหญิงเล็กๆ กับเพื่อนของเธอ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/059.mp3

060 – งู นายกเทศมนตรี และพระ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/060.mp3

061 – งูตัวร้าย
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/061.mp3

062 – บทที่ 7 ปัญญาและความสงบภายใน ปัญญานำ น้ำใจตาม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/062.mp3

063 – ความห่วงใยต่อลูกชาย
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/063.mp3

064 – ปัญญาคืออะไร
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/064.mp3

065 – กินอย่างฉลาด
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/065.mp3

066 – การแก้ปัญหา
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/066.mp3

067 – ฟังผิด
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/067.mp3

068 – ไม่ใช่ปัญญา
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/068.mp3

069 – โอษฐภัย
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/069.mp3

070 – เต่าพูดมาก
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/070.mp3

071 – พูดได้ฟรี ไม่ต้องจ่ายภาษี
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/071.mp3

084 – บทที่ 10 อิสรภาพและความอ่อนน้อมถ่อมตน อิสระสองประเภท
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/084.mp3

085 – อิสระชนิดไหนล่ะที่ท่านชอบ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/085.mp3

086 – โลกเสรี
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/086.mp3

087 – อาหารค่ำกับองค์กรนิรโทษกรรมสากล
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/087.mp3

088 – การแต่งตัวของพระ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/088.mp3

089 – หัวเราะตัวเอง
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/089.mp3

090 – การหัวเราะที่ดังสุดของหมามะกัน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/090.mp3

091 – เหม็นลม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/091.mp3

092 – เมื่ออาตมาบรรลุธรรม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/092.mp3

093 – หมอหรือหมู
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/093.mp3

094 – ฮาริคริชน่า
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/094.mp3

095 – ค้อนใคร
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/095.mp3

096 – มองเป็นเรื่องตลกดีกว่า
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/096.mp3

097 – ไอ้โง่
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/097.mp3

098 – บทที่ 11 ความทุกข์และการปล่อยวาง คิดยากกว่าทำ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/098.mp3

099 – ขุ่นเพราะขน
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/099.mp3

100 – กรรมของเราหนอ บุญของเขาหนอ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/100.mp3

101 – ไม่ปลอบก็เหมือนปลอบ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/101.mp3

102 – การเจ็บป่วยเป็นเรื่องผิดปกติรึ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/102.mp3

103 – เยี่ยมคนป่วย
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/103.mp3

104 – หัวเราะไม่ห้าม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/104.mp3

105 – คอนเสิร์ตชีวิต
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/105.mp3

106 – ใบไม้ร่วง
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/106.mp3

107 – ปุ่มชะตากรรม
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/107.mp3

108 – เมียข้ามชาติ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/108.mp3

109 – หัวเราะให้ออก
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/109.mp3

110 – เสน่ห์กองขี้
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/03/110.mp3

หลวงปู่ฝากไว้ หนังสือเล่มนี้ สุดยอดคะ (>”<)

เมื่อวันอาทิตย์ ที่งานสัปดาห์หนังสือ ศูนย์สิริกิต (9 ต.ค. 54)

ฉันไปที่งานนั้น เพื่อไปขอรับสิ่งๆหนึ่ง

คือได้ยินจากทางเน็ตว่าจะมีแจกหนังสือธรรมะฟรี ก็เลยไป ^_^!
(ปกติแล้วไม่ค่อยไป เพราะว่าไม่ชอบคนเยอะ เบียดเสียด)

ไปถึงก็ฝ่าฝูงชนตรงไปบูท “พรีม่า พับบลิชชิง”

ที่นั่นเขามีหนังสือธรรมะให้เลือกหยิบได้ฟรีหลายเล่มเลยคะ
ว่าแล้วฉันก็เลย คว้ามา 4 เล่มรวด

กลับมาบ้าน มานั่งอ่าน
.
.
.
มีอยู่เล่มนึง อ่านแล้วประทับใจมากเลยคะ
เล่มเนี้ย (>”<)

หลวงปู่ฝากไว้

หลวงปู่ฝากไว้

เป็นบันทึกคติธรรมของ “หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
ที่ถูกรวมรวมและบันทึกเอาไว้โดย พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฑิโต)

ชอบมากๆ เลยอะคะ

แบบว่าเนื้อหา จะสั้นๆ ในแต่ละตอน
แล้วมีข้อคิด ประโยคเด็ดสั้นๆของหลวงปู่
ที่พออ่านแล้วกระตุ้นความคิดความรู้สึกได้อยู่เรื่อยๆ

ว่างๆก็หยิบมาเปิดอ่านๆ ได้เรื่อยๆ นั่งอ่านประโยคทองแต่ละหน้า

ชอบมากๆคะ

แนะนำคะเล่มนี้ ลองหามาอ่านให้ได้นะคะ ^___^

.
.
.

ใครสนใจเข้าไปฟังเสียงอ่านหนังสือได้จากที่นี่เลยค่ะ

– ตอนที่ ๑
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/04/dulgift01.mp3
– ตอนที่ ๒
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/04/dulgift02.mp3

ดาวโหลดแบบหนังสือธรรมะ pdf ได้ที่นี่เลยค่ะ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/04/dulgift.pdf