เพราะคือ กระแสแห่งกรรม กระแสแห่งเหตุปัจจัย

current-of-karma-2-5-3

เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)
บทที่ ๕ เรื่อง กรรม หน้า ๓๑๑
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
สมมุติว่า ขณะนี้ ทั้งผู้อ่านและผู้เขียนกำลังยืนมองกระแสน้ำสายหนึ่งอยู่ กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบเป็นส่วนมาก จึงไหลเอื่อยๆ ไม่เชี่ยว ดินที่กระแสน้ำไหลผ่านส่วนมากเป็นดินสีแดง กระแสน้ำสายนี้จึงมีสีค่อนข้างแดง นอกจากนั้น กระแสน้ำยังไหลผ่านถิ่นที่มีประชาชนอยู่หนาแน่นหลายแห่ง คนได้ทิ้งขยะและของเสียต่างๆ ลงในลำน้ำเป็นอันมากตลอดเวลา ทำให้น้ำสกปรก ยิ่งในระยะหลังนี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งมากขึ้น และปล่อยน้ำเสียลงในน้ำทุกวัน ทำให้เกิดเป็นพิษ ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์น้ำ จึงมีปลาา กุ้ง เป็นต้น ไม่ชุม
สรุปแล้ว กระแสน้ำที่เรากำลังมองดูอยู่นี้ สีค่อนข้างแดง สกปรก เจือปนด้วยน้ำพิษมาก มีสัตว์น้ำไม่ชุม ไหลเอื่อยๆ ช้าๆ ผ่านที่นั้นที่นั้น ทั้งหมดนี้รวมกันเข้าเป็นลักษณะจำเพาะของกระแสน้ำนี้ ซึ่งมีลักษณะบางอย่างก็เหมือนกระแสน้ำโน้น บางอย่างเหมือนกระแสน้ำนั้น บางอย่างเหมือนกระแสน้ำนู้น ฯลฯ แต่รวมทั้งหมดแล้วไม่เหมือนกระแสน้ำอื่นใด
ต่อมา มีผู้บอกเราว่า กระแสน้ำสายนี้ชื่อแม่น้ำท่าวัง เขาบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำท่าวังเป็นอย่างนั้นๆ บางคนบอกว่าแม่น้ำท่าวังมีน้ำสกปรก ปลาไม่ชุม บางคนบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำท่าวังไม่ไหลเชี่ยว และเป็นอย่างนั้นๆ บางคนว่า แม่น้ำท่าวังไหลผ่านถิ่นที่มีดินสีแดงมาก จึงมีน้ำค่อนข้างแดง
เราเกิดความรู้สึกเป็นข้อสังเกตขึ้นมาว่า ความจริง กระแสน้ำที่เรามองดูอยู่ ก็มีภาวะสมบูรณ์ในตัวตามสภาพของมันอยู่แล้ว มันมีลักษณะต่างๆ เช่น ไหลช้า มีสีแดง สกปรก เป็นต้น ก็เพราะมันเกิดจากองค์ประกอบและความเป็นไปต่างๆ ที่เป็นเหตุเป็นผลอันทำให้มันต้องเป็นอย่างนั้น เช่น เมื่อกระแสน้ำกระทบละลายดินแดง ก็เกิดผลขึ้นแก่กระแสน้ำนั้นให้มีสีแดง เป็นต้น ความเป็นไปต่างๆ ของมัน มีผลต่อมันอยู่ในตัวเอง
ยิ่งกว่านั้น ขณะที่เรามองอยู่นั้น กระแสน้ำก็ไหลผ่านไปเรื่อยๆ น้ำที่เราเห็นตรงหน้าเมื่อแรกมอง กับเวลาต่อมา ก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน และน้ำที่เห็นตอนต่อๆ มา กับตอนท้ายที่เราจะเลิกมอง ก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน แต่กระนั้นมันก็มีลักษณะจำเพราะที่เรียกได้ว่าเป็นอย่างเดิม เพราะองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมเข้าเป็นกระแสน้ำนั้นยังคงเหมือนๆ เดิม แต่มีคนบอกเราว่า แม่น้ำนี้ชื่อแม่น้ำท่าวัง ยิ่งกว่านั้น ยังบอกกว่า แม่น้ำท่าวังมีกระแสน้ำไม่เชี่ยว น้ำของแม่น้ำท่าวังสกปรก ปลาน้อย เรามองไมเห็นว่าจะมีแม่น้ำท่าวังอยู่ที่ไหนต่างหาก หรือนอกจากกระแสน้ำที่เรามองอยู่นั้น เรามองไม่เห็นตัวแม่น้ำท่าวังไหนที่มาเป็นจ้ำของกระแสน้ำที่ไหลอยู่นั้น
ยิ่งกว่านั้น เขาบอกกว่า แม่น้ำท่าวังไหลผ่านละลายดินแดง ทำให้มันมีาสีค่อนข้างแดง คล้ายกับว่า แม่น้ำท่าวังไปทำอะไรให้กับดินแดง มันจึงได้รับผลถูกเขาลงโทษให้มีน้ำสีแดง เราเห็นอยู่ชัดๆ ว่า กระแสน้ำที่เรามองเห็นอยู่นั้น มีความเป็นไป เป็นกระบวนการแห่งเหตุและผลพร้อมอยู่ในตัวของมัน น้ำที่ไหลมากระทบเข้ากับดินแดง ดินแดงละลายผสมกับน้ำเป็นเหตุ ผลก็เกิดขึ้นคือกระแสน้ำจึงมีสีค่อนข้างแดง ไม่เห็นจะมีใครมาเป็นผู้ทำหรือผู้รับผลนั้นอีก
ยิ่งกว่านั้น เราไม่เห็นตัวแม่น้ำท่าวังเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ที่ไหนได้เลย กระแสน้ำที่ไหลผ่านหน้าเราไปแล้ว ก็ไหลผ่านไปเลย น้ำเก่าที่เราเห็น ก็ไม่มีอยู่ที่นั่นแล้ว มีแต่น้ำใหม่มาแทนที่เรื่อยไป เรากำหนดกระแสน้ำนั้นได้ ด้วยองค์ประกอบ อาการ และความเป็นไปต่างๆ ที่ประมวลกันขึ้นให้ปรากฏลักษณะอันจะถือเอาได้เช่นนั้นเท่านั้นเอง และถ้ามีตัวตนของแม่น้ำท่าวังเป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนตายตัวอยู่ กระแสน้ำคงจะเป็นไปตามองค์ประกอบและเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้ และในขั้นสุดท้าย เราเห็นว่า แม่น้ำท่าวังนั่นแหละเป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็น เราพูดถึงกระแสน้ำนั้นได้เต็มตามกระบวนการของมัน โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับแม่น้ำท่าวังเลย ว่าให้ถูกแล้ว แม่น้ำท่าวังไม่มีอยู่เลยด้วยซ้ำไป เราเห็นชัดเลยว่า ไม่มี ไม่ต้องมี และไม่อาจจะมีอะไรๆ มาเป็นตัวตนที่เรียกว่าแม่น้ำท่าวัง หรือมีแม่น้ำท่าวังที่ไหนมาเป็นตัวตนเป็นอัตตา ที่จะเป็นเจ้าของเจ้ากี้เจ้าการกำกับสั่งการแก่กระแสน้ำนั้น
ต่อมาอีกนาน เราเดินทางไปถึงตำบลอื่น เราพบชาวตำบลนั้นหลายคน คราวหนึ่งเราอยากจะเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องกระแสน้ำที่เราได้มองดูคราวก่อนนั้น แล้วเราก็เกิดความติดขัดขึ้นมาทันที เราไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรดี เขาจึงจะเข้าใจตามที่เราต้องการจะบอกเขาได้ เรานึกขึ้นมาได้ถึงคำที่เคยมีคนบอกเราว่ากระแสน้ำสายนั้นชื่อแม่น้ำท่าวัง จากนั้นเราก็สามารถเล่าให้ชาวบ้านฟังอย่างสะดวกคล่องแคล่ว และเขาก็ฟังด้วยความเข้าใจและสนใจเป็นอย่างดี เราพูดด้วยว่า แม่น้ำท่าวังมีน้ำสกปรก มีปลาน้อย กระแสน้ำของแม่น้ำท่าวังไหลช้า แม่น้ำท่าวังไหลไปกระทบดินแดง ทำให้มันมีสีค่อนข้างแดง
ในเวลานั้น เราเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยว่า แม่น้ำท่าวัง และบทบาทของมันตามที่เราเล่านั้น เป็นเพียงถ้อยคำสมมติเพื่อสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันในโลก แม่น้ำท่าวังและบทบาทของมันตามคำสมมุติเหล่านี้ จะมีขึ้นมาหรือไม่มี และเราจะใช้มันหรือไม่ก็ตามที จะไม่มีผลกระทบต่อกระแสน้ำนั้นเลย กระแสน้ำนั้นก็คงเป็นกระบวนการแห่งกระแสที่ไหลเนื่องไปตามองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของมันอยู่นั่นเอง เราแยกได้ระหว่างสมมุติกับสภาวะที่เป็นจริง บัดนี้ เราทั้งเข้าใจ และสามารถใช้ถ้อยคำเหล่านั้นพูดด้วยความสบายใจ
ที่สมมติเรียกกันว่าคน ว่านาย ก. คุณ ข. เรา เขา นั้นโดยสภาวะที่แท้ก็คือ กระบวนธรรมที่ไหลเนื่องเป็นกระแสสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย มีองค์ประกอบต่างๆ มาสัมพันธ์กันอยู่มากมาย มีความเป็นไปปรากฏให้เห็นได้นานัปการ สุดแต่เหตุปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในกระบวนธรรมนั้นเอง และทั้งที่เนื่องด้วยภายนอก
เมื่อมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างหนึ่งเกิดเป็นเหตุขึ้นแล้ว ก็ย่อมก่อนให้เกิดผลเป็นความเปลี่ยนแปลงขึ้นในกระบวนธรรมนั้น สิ่งที่เรียกว่ากรรม และวิบาก นั้น ก็คือความเป็นไปตามทางแห่งเหตุและผลที่เกิดขึ้นในกระบวนธรรมที่กล่าวนี้ ซึ่งมีความสำเร็จพร้อมอยู่ในตัวกระบวนธรรมนั้นเอง โดยไม่ต้องอาศัยตัวสมมติ เช่นว่า นาย ก. นาย ข. เรา เขา นายสิบ นายพัน มารับสมอ้างเป็นเจ้าของ เป็นผู้ทำ หรือเป็นผู้รับผลแต่ประการใด
อันนี้เป็นส่วนตัวสภาวะความจริง อันเป็นไปอยู่ตามธรรมดาของมัน แต่เพื่อความสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจกันในหมู่ชาวโลก จะใช้พูดตามสมมติก็ได้ โดยตั้งชื่อให้แก่กระบวนธรรมที่ไหลเวียนอยู่นั้นว่า นาย ก. นาย ข. จมื่น หัวหมู่ เป็นต้น เมื่อรับสมมติเข้าแล้ว ก็ต้องยอมรับสมอ้าง เป็นเจ้าของ เป็นผู้ทำ และผู้ถูกทำไปตามเรื่อง แต่ถึงจะสมมติหรือไม่สมมติ จะรับสมอ้างหรือไม่รับ กระบวนธรรมที่เป็นตัวสภาวะความจริงก็เป็นไปอยู่ตามกฏธรรมดา ตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง ข้อสำคัญก็คือ จะต้องรู้เท่าทัน แยกสมมติกับตัวสภาวะออกจากกันได้ ของอันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อใดจะพูดถึงสภาวะ ก็พูดไปตามสภาวะ เมื่อใดจะใช้สมมติ ก็พูดไปตาม สมมติ อย่าไขว้เขว อย่าสับสนปะปนกัน และต้องมีความเข้าใจสภาวะเป็นความรู้เท่าทันรองรับยืนพื้นอยู่
ทั้งตัวสภาวะ และสมมติ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่าปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ ส่วนสมมติเป็นเรื่องของประโยชน์ในทางปฏิบัติสำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมติมาสับสนกัน คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะ จะให้เป็นตามสมมติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นวายใหญ่ เพราะขัดความปรารถนา ถูกบีบคั้น จึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง
จากหนังสือ พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)
บทที่ ๕ เรื่อง กรรม หน้า ๓๑๑
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

ฟังคลิปเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม
เรื่อง กรรม (mp3)

ฟังคลิปเสียง
“เพราะนี้คือกระแสแห่งกรรม กระแสแห่งเหตุปัจจัย”

โพชฌงค์ ๗ คือ …

ลองฟังเรื่อง โพชฌงค์ ๗ นี้กันค่ะ
อธิบายไว้ดีมากๆเลย เนื้อหาเข้าใจง่ายด้วย ฟังแล้วประยุกต์ใช้ได้เลย
สามารถดาวโหลดคลิปเสียงนี้ในแบบ mp3 ฟังได้ที่นี่ค่ะ
โพชฌงค์ ๗ (mp3)
โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่าง
คือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม)
๓. วิริยะ ๔. ปิติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา
—————–
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

อานาปานสติสูตร
—————–

จากธรรมบรรยายโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
และเราสามารถศึกษาธรรมะข้อธรรม และความรู้ที่ทรงคุณค่าต่างๆมากมาย
เพิ่มเติมจาก ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ได้ที่
วัดญาณเวศกวัน

เจตนาหรือไม่ได้เจตนา… เป็นกรรมหรือไม่

20140216_142450-2-450px-2

“กรรมดี หรือชั่ว ทุกอย่าง ที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล, ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย ย่อมไม่มี”

พุทธศาสนสุภาษิต

อนึ่ง พึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “เจตนา” อีกสักเล็กน้อย เจตนาในทางธรรม มีความหมายละเอียดอ่อนกว่าที่เข้าใจกันทั่วไปในภาษาไทย กล่าวคือ ในภาษาไทยมักใช้เจตนาต่อเมื่อต้องการเชื่อมโยงความคิดที่อยู่ภายใน กับการกระทำที่แสดงออกมาในภายนอก เช่นว่า พูดพลั้งไป ไม่ได้เจตนา หรือเขากระทำการโดยเจตนา เป็นต้น แต่ในทางธรรม คือตามหลักกรรมนี้ การกระทำการพูดที่แสดงออกภายนอกโดยจงใจก็ดี ความคิดต่างๆ แม้เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นๆ ชั่วครู่ชั่วขณะแล้วผ่านไปๆ ภายในจิตใจก็ดี การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ดี ความรู้สึกและท่าทีของจิตใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบทางตาหูจมูกลิ้นกายและที่ระลึกหรือนึกขึ้นมาในใจก็ดี ล้วนมีเจตนาประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น

เจตนาจึงเป็นเจตจำนง ความจงใจ การเลือกอารมณ์ของใจ ตัวนำที่หันเหชักพาทำให้จิตเคลื่อนไหว โน้มน้อมไปหา หรือผละไปจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เป็นหัวหน้า เป็นผู้จัดการ หรือตัวเจ้ากี้เจ้าการของจิตว่าจะเอาอะไรไม่เอาอะไรกับเรื่องใดอย่างไร เป็นตัวการจัดแจงแต่งวิถีทางของจิต และในที่สุดก็เป็นตัวการปรุงแต่งจิตนั้นให้เป็นไปต่างๆ

เมื่อเจตนาเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ก็คือกรรมเกิดขึ้นทีหนึ่ง เมื่อกรรมเกิดขึ้นแล้ว ก็มีผลทันที เพราะเมื่อเจตนาเกิดขึ้น ก็คือมีกิจกรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว จิตมีการเคลื่อนไหว หรือไหวตัวแล้ว แม้เป็นเพียงความคิดอะไรเล็กน้อย ซึ่งถึงจะไม่มีผลอะไรสำคัญ แต่ก็ไม่ไร้ผลเสียเลย อย่างน้อยก็เป็นละอองกรรมอันละเอียดที่สั่งสมหรือพอกเข้าไว้เป็นเครื่องปรุงแต่งคุณสมบัติของจิตอยู่ภายใจ เมื่อมากขึ้น เช่น จิตเสพความคิดนั้นบ่อยๆ หรือความคิดนั้นรุนแรงขึ้นจนออกมาภายนอก ผลก็แรงขึ้นขยายออกมาเป็นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ เป็นต้น

ยกตัวอย่าง เช่น เจตนาในการทำร้าย ไม่ต้องพูดถึงกรรมร้ายแรงถึงขั้นจะฆ่าคน แม้แต่การทำลายสิ่งของที่เล็กๆ น้อยๆ เหลือเกิน ถ้าทำด้วยเจตนาทำร้าย คือประกอบด้วยโทสจิต หรือมีความโกรธ อย่างคนฉีกกระดาษด้วยความฉุนเฉียว ทั้งที่กระดาษนั้นไม่มีคุณค่าสำคัญอะไร แต่ย่อมมีผลต่อคุณภาพจิต หาเหมือนกันไม่กับการฉีกกระดาษของคนที่ทำด้วยจิตปกติโดยรู้ว่าจะไม่ใช้กระดาษนั้นแล้ว

เมื่อทำการอะไรๆ ด้วยเจตนาอย่างนั้นบ่อยๆ ผลแห่งการสั่งสมก็จะปรากฏชัดยิ่งขึ้น และอาจขยายกว้างออกไปในระดับต่างๆ โดยลำดับ เปรียบเหมือนฝุ่นละอองที่ปลิวเข้ามาในห้องทีละเล็กละน้อยอย่างที่มิได้สังเกตเลย ย่อมไม่มีส่วนใดที่ไร้ผลเสียเลย แต่ผลนั้นจะสำคัญแค่ไหน นอกจากเป็นไปตามความแรงและปริมาณของสิ่งที่สั่งสมแล้ว ยังสัมพันธ์กับคุณภาพและการใช้งานของจิตในระดับต่างๆ อีกด้วย

ฝุ่นละอองปลิวลงจับท้องถนน กว่าจะทำให้รู้สึกสกปรก ก็ต้องมีปริมาณมากมาย ฝุ่นละอองปลิวลงบนพื้นเรือน แม้น้อยกว่านั้น ก็รู้สึกสกปรก ฝุ่นละอองน้อยกว่านั้นลงจับโต๊ะเขียนหนังสือ ก็สกปรกและรบกวนงาน น้อยกว่านั้นอีก ลงจับกระจกเงาส่องหน้า ก็รู้สึกเปื้อนและกระทบการใช้งาน ธุลีละอองนิดเดียวลงจับแว่นตา ก็รู้สึกได้และทำให้การเห็นพร่ามัวได้ อุปมาอย่างอื่น เช่น เอามีดขีดที่พื้นถนน ที่พื้นห้อง ที่กระจกแว่นตา ก็ทำนองเดียวกัน ส่วนในด้านตรงข้ามก็พึงเห็นได้ เช่น การใช้ผ้ากำมะหยี่หรือสำลีเล็กน้อย เช็ดพื้นห้อง จนถึงเช็ดแว่นตา เป็นต้น รวมความว่า เจตจำนง คือเจตนา หรือกรรมนั้น แม้เล็กน้อย ก็มิได้ไร้ผล อาจอ้างพุทธศาสนสุภาษิตว่า

“กรรมดี หรือชั่ว ทุกอย่าง ที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล,
ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย ย่อมไม่มี”
[1]
และว่า
กรรม ไม่ว่าดี หรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย” [2]

อย่างไรก็ตาม ผลทางด้านกรรมนิยามในระดับจิตใจนี้ คนจำนวนมากคอยจะมองข้าม ไม่เห็นความสำคัญ จึงขอเพิ่มความเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาเกี่ยวกับน้ำอีกสัก ๒ อย่าง

– น้ำสะอาด และน้ำสกปรก มีหลายระดับ เช่น น้ำครำในท่อระบายโสโครก น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำประปา และน้ำกลั่นสำหรับผสมยาฉีด เป็นต้น น้ำครำพอใช้เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายอย่างได้ แต่ไม่เหมาะแก่การใช้อาบ ไม่อาจใช้กินหรือทำกิจที่ประณีตอื่นๆ น้ำในแม่น้ำลำคลองใช้อาบน้ำซักผ้าได้ แต่ก็ยังไม่เหมาะที่จะรับประทาน น้ำประปาใช้ดื่มกินได้ แต่จะใช้ผสมยาฉีดยังไม่ได้ เมื่อมีแต่น้ำประปาและกิจที่ใช้ไม่มีส่วนพิเศษออกไป น้ำประปานั้นก็พอแก่ความประสงค์ แต่ถ้ามีกรณีพิเศษ เช่นจะผสมยาฉีด ก็เป็นอันติดขัด

ทั้งนี้ เปรียบได้กับจิตที่มีคุณภาพต่างๆ กัน โดยความหยาบประณีตขุ่นมัวและสะอาดผ่องใสกว่ากัน เนื่องมาจากกรรมที่ได้ประกอบสั่งสมไว้ ถ้ายังใช้งานในสภาพชีวิตอย่างนั้นๆ ก็อาจยังไม่รู้สึกปัญหา แต่เมื่อล่วงผ่านกาลเวลาและวัยแห่งชีวิตไป อาจถึงโอกาสที่ต้องใช้จิตที่ประณีตยิ่งขึ้น ซึ่งกรรมปางหลังจะก่อปัญหาให้ อาจติดขัดใช้ไม่ได้ หรือถึงกับเน่าเสียไปทีเดียว

– น้ำกระเพื่อมและสงบเรียบ มีหลายระดับ ตั้งแต่น้ำในทะเลมีคลื่นโตๆ น้ำในแม่น้ำที่มีคลื่นจากเรือยนต์ น้ำในลำธารที่ไหลริน น้ำในสระที่ลมสงบ จนถึงน้ำในภาชนะนิ่งปิดสนิท บางกรณีจะใช้น้ำมีคลื่นกระเพื่อมกระฉอกบ้างก็ได้ แต่บางกรณีอาจต้องใช้น้ำสงบนิ่งอย่างที่แม้แต่วางเข็มเย็บผ้าลงไป ก็ลอยนิ่งอยู่ได้นาน

คุณภาพของจิตที่หยาบและประณีต ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้งาน และการเข้าถึงคุณวิเศษต่างๆ ที่ชีวิตจะเข้าถึงได้ ก็พึงเข้าใจโดยทำนองนั้น

สมมตินิยาม กับกรรมนิยาม แยกต่างหากกัน ผลในฝ่ายกรรมนิยามย่อมดำเนินไปตามกระบวนการของมันเอง ไม่ขึ้นต่อบัญญัติของสังคมที่ขัดกับมันดังที่กล่าวมานี้

. . .

[1] ขุ.ชา.๒๗/๒๐๕๔/๔๑๓
(แต่ไม่พึงสับสนกับเรื่องกรรมที่ไม่ให้ผลในระดับวิถีชีวิตภายนอก)
[2] ขุ.ชา.๒๘/๘๖๔/๓๐๖
[กลับขึ้นด้านบน]
หนังสือ “พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)” (หน้า ๒๕๘-๒๖๐)

ธรรมนิพนธ์โดย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
หนังสือที่รวบรวมและอธิบายคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ให้อยู่ในระดับที่คนทั่วไปสามารเรียนรู้และเข้าใจได้ อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน

(English)

อ่าน และทำความเข้าใจเรื่อง “กรรม”

จริงๆเนื้อหาในหนังสือพุทธธรรมในบทนี้นะ
อยากชวนให้ “อ่านด้วยตัวเอง” มากกว่าค่ะ
เราอ่านจบแล้ว บอกได้เลยว่าเนื้อหาแน่นมาก
เป็นบทที่สุดยอดมากๆบทนึงเลยทีเดียว

เนื้อหาสอดรับกันต้้งแต่เริ่มต้น
ต้องตั้งใจและตั้งสมาธิในการอ่านเลยค่ะ

แล้วจะได้รับสิ่งที่ทรงคุณค่ามากๆ จากเนื้อหาในเรื่องนี้บทนี้

อ่าน pdf ที่นี่นะคะ อยู่ในบทที่ 5 นะ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/05/putthathum-extend.pdf

“พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)”
ธรรมนิพนธ์โดย “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)”
เพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนา

krama-1-2-3
ส่วนด้านล่างนี้เป็นเวอร์ชั่นเสียง mp3 นะคะ

1 – ความนำ
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_01.mp3

2 – ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกรรม – ก. กรรม ในฐานะกฏธรรมชาติอย่างหนึ่ง
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_02.mp3

3 – ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกรรม – ข. ความหมายของกรรม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_03.mp3

4 – ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกรรม – ค. ประเภทของกรรม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_04.mp3

5 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – ก. ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_05.mp3

6 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – ข. ความหมายของกุศลและอกุศล
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_06.mp3

7 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – ค. ข้อคววรทราบพิเศษเกี่ยวกับกุศลและอกุศล
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_07.mp3

8 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – ง. เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดี-กรรมชั่ว
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_08.mp3

9 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – สิ่งที่สังคมบัญญัติ ไม่เกี่ยวกับกุศล อกุศลโดยตรง
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_09.mp3

10 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – สิ่งที่สังคมบัญญัติ กระทบถึงกุศล อกุศลในกรรมนิยาม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_10.mp3

11 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าเจตนา
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_11.mp3

12 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – อย่างไรก็ดี เพราะเหตุที่นิยามทั้งสองนั้น…
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_12.mp3

13 – เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว – จ. หลักคำสอนเพื่อเป็นเกณฑ์วินิจฉัย
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_13.mp3

14 – การให้ผลของกรรม – ก. ผลกรรมในระดับต่างๆ
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_14.mp3

15 – การให้ผลของกรรม – ข. องค์ประกอบที่ส่งเสริมและขัดขวางการให้ผลของกรรม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_15.mp3

16 – การให้ผลของกรรม – ค. ผลกรรมในช่วงกว้างไกล
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_16.mp3

17 – การให้ผลของกรรม – ง. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการพิสูจน์เรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_17.mp3

18 – การให้ผลของกรรม – จ. ข้อสรุป: การพิสูจน์และท่าทีปฏิบัติต่อเรื่องชาติหน้า
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_18.mp3

19 – การให้ผลของกรรม – ฉ. ผลกรรมตามนัยแห่งจูฬกรรมวิภังคสูตร
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_19.mp3

20 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๑) สุขทุกข์ ใครทำให้
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_20.mp3

21 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๒) เชื่ออย่างไร ผิดหลักกรรม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_21.mp3

22 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๓) กรรม ชำระล้างได้อย่างไร
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_22.mp3

23 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๔) แก้กรรม ด้วยปฏิกรรม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_23.mp3

24 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๕) กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม (1)
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_24.mp3

25 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๕) กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม (2)
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_25.mp3

26 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๕) กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม (3)
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_26.mp3

27 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๖) กรรม ในระดับสังคม หรือกรรมของสังคม มีหรือไม่
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_27.mp3

28 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๗) กรรม ตามสมมตินิยาม หรือ กรรม ในกฎของมนุษย์
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_28.mp3

29 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๗) กรรม ตามสมมตินิยาม – กฎมนุษย์ (1)
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_29.mp3

30 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๗) กรรม ตามสมมตินิยาม – กฎมนุษย์ (2)
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_30.mp3

31 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๘) กรรม กับอนัตตา ขัดกันหรือไม่
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_31.mp3

32 – ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป – ๘) กรรม กับอนัตตา ขัดกันหรือไม่ (ต่อ) – สรุป
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_32.mp3

33 – คุณค่าทางจริยธรรม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_33.mp3

34 – บันทึกพิเศษท้ายบท
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/01/05_34.mp3

จากหนังสือ “พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)” เพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนา
หนังสือที่รวบรวมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาไว้ได้ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน
ธรรมนิพนธ์โดย “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)”
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/05/putthathum-extend.pdf

(mp3) เสียงอ่านหนังสือ เรื่อง “แรงจูงใจ”

inspiration

เป็นเสียงอ่านจากหนังสือ “พุทธธรรม” หนังสือที่ล้ำค่าในพระพุทธศาสนา ธรรมนิพนธ์โดย “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)”

ให้เสียงอ่านโดย “พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล”

ฟังเรื่องนี้แล้วช่วยให้เราเข้าใจตัณหาและฉันทะ ได้มากยิ่งขึ้นจริงๆค่ะ
กิเลส ตัณหา กลไกของชีวิต

1 – ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ

2 – กลไกชีวิตในการกระทำ

3 – แง่ความหมายที่ช่วยให้เข้าใจตัณหา และฉันทะ ชัดยิ่งขึ้น

4 – ความเข้าใจหลักธรรม ตามหลักฐานทางวิชาการ

5 – ฉันทะ อย่างไหนเป็นต้นตอของทุกข์ อย่างไหนคือที่ตั้งต้นของกุศลธรรม

6 – ฉันทะ ถึงจุดลงตัวของความหมายที่ใช้เป็นมาตรฐาน

7 – การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ตัณหา กับฉันทะ

8 – อธิบายเชิงเปรียบเทียบ

9 – ปัญหาจากระบบเงื่อนไขของตัณหา

10 – ผลดีจากระบบตรงไปตรงมาของฉันทะ

11 – สภาพการกิน ภายใต้ครอบงำของระบบเงื่อนไข

12 – การสืบพันธุ์ ระบบธรรมชาติที่แทบเลือนหาย ภายใต้อารยธรรมแห่งกามคุณ

13 – กินด้วยปัญญา พาให้กินพอดี

14 – ข้อพิจารณาเชิงซับซ้อน

15 – เมื่อไม่มีอะไรล่อตัณหา ก็พึ่งพาได้แต่ฉันทะ

16 – คนวนอยู่ที่อยากให้ตัวได้สิ่งที่ปรารถนา พ้นไปจากสิ่งไม่ปรารถนา รักษาความมั่นคงของอัตตาไว้

17 – ฉันทะต่อของ ขยายสู่เมตตาต่อคน

18 – แม้ว่าฉันทะจะขยายไปถึงเมตตากรุณา ตัณหาก็ยังตามไปรังควาน

19 – ทวนความหมาย และกระบวนการเกิดของฉันทะ

20 – ฉันทะอยากชั่ว ตัณหาอยากดี มีหรือไม่

21 – ระวังไว้ ฉันทะมา ตัณหาอาจจะสอด หรือแทรกสลับ

22 – อยากนิพพาน อย่างไรเป็นฉันทะ อย่างไรเป็นตัณหา

23 – ตัณหาให้ละแน่ แต่ฉันทะก็ละอีกแบบหนึ่ง

24 – จะละตัณหา ก็ใช้ตัณหาได้ แต่ไม่วายต้องระวัง

25 – มนุษย์เป็นสัตว์วิเศษ ต้องเพิ่มเดชด้วยฉันทะ มิใช่จะมัวเป็นทาสของตัณหา

26 – ถึงจะพ้นตัณหา ได้ฉันทะมา ก็ยังต้องเดินหน้าไปกับปัญญา จนกว่าจะพ้นปัญหาแท้จริง

27 – ปัญญามาแทนที่ ตัณหาหมดหน้าที่ มีฉันทะเต็มที่

28 – ปัญญาและกรุณา ตัวกำกับและขับเคลื่อนการทำงานของมหาบุรุษ

29 – สรุปข้อควรกำหนดเกี่ยวกับตัณหาและฉันทะ

30 – พัฒนาคนได้ ด้วยการพัฒนาความต้องการของเขา

เป็นเสียงอ่านจากหนังสือ “พุทธธรรม” หนังสือที่เป็นเพชรเม็ดงามแห่งพระพุทธศาสนา
โดย “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)”

อ่านหนังสือพุทธธรรม (pdf)

(ฉบับการ์ตูน) อ่านนิทานเรื่อง ลิงเฝ้าสวน

ทีนี้เราก็มาดูอุทยานบาล คนเฝ้าสวนของพระราชา
คือเฝ้าพระราชอุทยาน

3-2-3

ท่านผู้นี้ก็มีความซื่อสัตย์
ซื่อตรงต่อหน้าที่ทำหน้าที่ไม่ให้บกพร่อง
จะว่ากลัวพระอำนาจก็แล้วแต่นะ ถ้าทำผิดดีไม่ดีก็ตัดศีรษะเลย
แต่ว่าอาจจะซื่อสัตย์ทำหน้าที่ตัวเองให้ถูกต้อง

ทีนี้ในเมืองก็เกิดมีงานนักขัตฤกษ์ขึ้นมา

4-3

ท่านผู้นี้ก็มาคิด เอ… เรานี้ก็อยากจะไปเที่ยวซะบ้าง
จะทำไงล่ะเราก็ต้องรดน้ำพรวนดินดูแลสวน
จะขาดไม่ได้จะไปซักวันสองวันสามวัน
มันก็เสียงาน สวนต้นไม้จะเป็นยังไงก็ไม่รู้
ทำไงดี อยากจะเที่ยวก็เที่ยวละทิ้งหน้าที่ก็ไม่ได้

5-2

นึกไปนึกมานึกออก ..อ๋อ..
เรามีวานรอยู่ฝูงหนึ่งอยู่ในสวนของเรานี่

6-2

วานร ก็คือ ลิง
ทีนี้ว่าลิงทั้งหลายก็เป็นธรรมดาต้องมีหัวหน้า
เค้าเรียกอะไรจ่าฝูงใช่ไหม จ่าฝูงหรือหัวโจกก็แล้วแต่ล่ะ
โดยมากหัวโจกใช้ในทางไม่ค่อยดี ก็เรียกจ่าฝูง

7-3-5

ทีนี้ก็มีลิงอยู่ฝูงหนึ่ง แล้วก็มีจ่าฝูง
นายอุทยานบาลคิดขึ้นมา
เอ้อ..ได้การแล้ว
ลิงนี่ฉลาด พอจะทำงานได้
ก็เลยเรียกหัวหน้าลิงจ่าฝูงมา

8

“เออนี่นะ
เราเนี่ยอยากจะไปเที่ยวงานนักขัตฤกษ์ซักสองสามวัน
แล้วห่วงสวนเนี่ย พวกเธอนี่ก็อยู่ในสวนอาศัยสวนมาเราก็อยู่ด้วยกันเนี่ย
จะให้สวนมันดีก็ต้องช่วยกันรักษา เธอจะพอช่วยเราได้ไหม”

“ด้วยอะไรล่ะ?”

ก็บอกว่า
“เนี่ย มาช่วยรดน้ำต้นไม้ให้หน่อย”

8-3

“โอ้.. ได้สิแค่นี้
พวกเราก็รักสวนนี้เหมือนกัน อยากจะให้งดงาม
แล้วก็อยากแทนคุณของท่าน ท่านก็ช่วยพวกเรามาตลอด”
ก็เลยตกลงเอ้าลิงรับแล้วรับปาก จะไปบอกพวกฝูงลิงให้

8-2

ทีนี้นายอุทยานบาลก็เลยบอกวิธีงานที่จะต้องทำ
ว่าเออการรดน้ำทำอย่างนั้นนะ มีถังน้ำอยู่ที่นั่นที่นั่น
ถึงเวลานั้นเช้าหรือตอนไหนก็ไม่รู้แหละ
เค้าก็บอกเวลาไปให้พาฝูงลิงเนี่ยเอามารดน้ำ
ไปตักน้ำที่โน่นนะ ใช้กระป๋องเหล่านี้นะ แล้วก็มารดต้นไม้เหล่านี้นะ
ตามเวลานี้อะไรนี้ก็บอกไป

หัวหน้าลิงก็รับปากอย่างดี

คนเฝ้าสวนก็สบายใจ เบาใจได้ก็เป็นอันว่า
ไปในเมือง ไปเที่ยวงานนักขัตฤกษ์

9

ฝ่ายหัวหน้าลิงนี่ก็ฉลาด
ถึงเวลาก็เรียกฝูงลิงมาบอกว่า
“เออเนี่ยพวกเราอยู่ในสวนมาช่วยกันนะ
ดูแลรักษารดน้ำต้นไม้กันหน่อย วันนี้นายเราไม่อยู่”

“เอ้ามาช่วยกันสิ”

เอ้าจะตักน้ำก็เอาพวกถังน้ำหรือว่ากระบวยอะไรเนี่ย
เค้าเรียกอะไรที่จะไปรดน้ำต้นไม้ บัวรดน้ำหรือถังน้ำก็แล้วแต่
หยิบกันมา ไปตักน้ำ
พวกฝูงลิงก็พากันไปถึงเดินกันไป

พอจะเริ่มงานหัวหน้าลิงก็บอก
“หยุดๆ เดี๋ยวก่อน”

10-3

“อ่าวทำไมละ เดี๋ยวสิ”

ก็บอกว่า
“การที่จะรดน้ำต้นไม้นี่นะเราก็ต้องรู้จักประหยัดน้ำด้วย
แล้วก็ต้องรู้จักรดให้มันเหมาะสมให้ได้ประโยชน์ดีที่สุด
เพราะฉะนั้นเราจะรดให้เหมาะ”

ทำยังไงจึงจะเหมาะ ?

11-2

ก็คือว่าต้นไม้เนี่ยเป็นธรรมดาเค้าต้องการน้ำมากน้อยไม่เท่ากัน
ฉะนั้นเราจะต้องรดน้ำให้ตามความต้องการของต้นไม้
ต้นไหนต้องการน้ำมาก เราก็รดน้ำมาก
ต้นไหนต้องการน้ำน้อย เราก็รดน้ำน้อย

12-2

เออ…แล้วจะทำยังไงจึงจะรดได้ผล
เออ…ก็ต้องแบ่งงานกันทำ

ก็มาเรียนรู้วิธีการ…
ทำไงจะรู้ความต้องการของต้นไม้
ธรรมดาต้นไม้ไหนรากยาวก็ต้องการน้ำมาก
ต้นไม้ต้นไหนรากสั้นก็ต้องการน้ำน้อย
เราก็รดไปตามความต้องการของต้นไม้

ทีนี้ทำไงจะรู้ความต้องการ
ก็ต้องถอนมันขึ้นมาดู

13

ทีนี้คนหนึ่งจะต้องรดต้นไม้ให้พอดีกับความต้องการน้ำ
คนหนึ่งก็ต้องดูรากไม้ว่ายาวหรือสั้น
เราก็ต้องแบ่งงานกันทำ
เพราะฉะนั้นก็จัดวานรนี้เป็นคู่ๆ
ตัวหนึ่งก็เอาบัวรดน้ำหรือว่ากระป๋องน้ำเนี่ยไปตักน้ำ
อีกตัวหนึ่งก็มาอยู่ที่โคนต้นไม้

พอตัวที่ตักน้ำมาถึงจะรดน้ำมากหรือน้อย
ไอ้เจ้าตัวที่อยู่ที่โคนต้นไม้
ก็ถอนต้นขึ้นมาดู

14-4-2

แล้วก็บอกว่าต้นนี้รากยาว ก็รดน้ำมาก
แล้วก็ไปต้นต่อไป
ไอ้เจ้าต้นนี้รากสั้นต้องการน้ำน้อยก็รดน้อยๆ
นี่ก็เรียกว่ารดตามความต้องการของต้นไม้

ทั้งรดอย่างฉลาดเลยนะ รู้ความต้องการของต้นไม้
รดให้พอดีกับความต้องการของต้นไม้
ทั้งรู้จักหลักการแบ่งงานกันทำ

ลิงนี่ฉลาดอย่างยิ่งเลยนะ หาได้ยาก

แต่ปรากฏว่า
ต้นไม้ตายหมด

15

ทีนี้ก็มีท่านผู้หนึ่งเดินผ่านมา
เอ้…เห็นลิงทำอะไรกันเนี่ย ก็เลยมาเกาะรั้วสวน
แล้วก็ถามหัวหน้าลิง

“ท่านทำอะไรกัน?”

16

“รดต้นไม้ เพราะว่านายอุทยานบาลแกไปเที่ยวงานนักขัตฤกษ์
พวกเราก็รับช่วยแก”

“อ่าวแล้วทำไมท่านทำอย่างนี้?”

17-2

หัวหน้าลิงก็อธิบาย
“เอ้า ก็มีเหตุผลอย่างนี้แหละ เราก็ต้องรดน้ำตามความต้องการของต้นไม้
ทำไงจะรู้ความต้องการก็ต้องรู้ว่ารากสั้นรากยาว ก็ต้องถอนมันขึ้นมาดู
แล้วก็รดไปตามความต้องการนั้น
เรื่องก็อย่างนี้ แล้วก็แบ่งงานกันทำเรียบร้อย ก็สำเร็จด้วยดี”

18-9

นายคนนั้นแกก็ไม่รู้จะพูดว่าไง
เพราะว่าลิงก็เถียงแกอีก
ลิงก็บอกว่าเค้าทำอย่างฉลาดแล้ว
ใช่ไหม ที่เค้าอธิบายนี่ก็ถูกต้องหมด

แต่ว่าต้นไม้มันตาย
แต่มันไม่ได้ตายเดี๋ยวนั้นนี่ใช่ไหมกว่าจะเห็น

18-3

ทีนี้คนนี้แกก็เลยกล่าวคาถาออกมาบอกว่า

“คนไม่ฉลาดในประโยชน์ แม้ปราถนาจะทำประโยชน์ ก็กลายเป็นทำความพินาศได้”

นี่คือคาถาสรุป

อันนี้ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยเลยนะ

นิทานชาดก ถอดเทปจากเรื่องเล่าโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

เรื่องจากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อัตถกามวรรค
เรื่องที่ ๖ อารามทูสกชาดก
ฉลาดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ไม่มีความสุข

ดูคลิปวีดีโอการ์ตูนได้ที่นี่ค่ะ
https://youtu.be/qMA3h7q63TI?list=PLDzf9cyBwgxCryjYpnDTxBKjl6rsSGsck

ดาวโหลดภาพการ์ตูนแบบยาวได้ที่นี่
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/09/monkey-on-garden-9-1.png

“พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)”
ผู้นิพนธ์หนังสือ “พุทธธรรม” อันทรงคุณค่า
หนังสือที่รวบรวมหลักคำสอนและแนวคิดทางพระพุทธศาสนา
ไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ศึกษางานของท่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน ค่ะ
http://www.watnyanaves.net

(การ์ดคำสอน) เหมือนนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์

pa-payutto-look-at-the-moon-720px

“…ภาษาเซนเขาบอกเหมือนกับนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์

นิ้วชี้ไปที่พระจันทร์ ก็หมายความว่านิ้วนี้ไม่ใช่พระจันทร์นะ ภาษาก็เหมือนกับนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์ จุดมุ่งเราอยู่ที่พระจันทร์ อย่าเอานิ้วเป็นพระจันทร์ หรืออย่าติดอยู่แค่นิ้ว

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
จากธรรมบรรยายเรื่อง “คนไทยใช่กบเฒ่า?”
๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๑

ผู้ประพันธ์หนังสือ “พุทธธรรม”
หนังสือที่รวบรวมหลักคำสอนและแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน

ฟังคลิปเสียง เหมือนนิ้วที่ชี้ไปที่พระจันทร์

ศึกษาธรรมะได้ที่เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน

(mp3) เสียงอ่านหนังสือ เรื่อง “ความสุข”

happiness-3

เป็นเสียงอ่านจากหนังสือ “พุทธธรรม”
หนังสือล้ำค่าที่รวบรวมสรรพความรู้และแนวคิดในพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วนมากที่สุด
โดย “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)”

ให้เสียงอ่านโดย “พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล”
เป็นบทที่ว่าด้วยเรื่องของ “ความสุข”

มาลองดูว่า ความสุขที่แท้จริง คืออะไร

1 – ความนำ – พุทธศาสนา คือ ระบบการพัฒนาความสุข
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23-01.mp3

2 – พุทธศนาสอนว่า สุขถึงได้ด้วยสุข
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23-02.mp3

3 – ภาคหลักการ ความสุขคืออะไร
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_03.mp3

4 – ความต้องการคืออะไร และสำคัญอย่างไร
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_04.mp3

5 – พอจะได้ใจพองฟูขี้นไปเป็นปิติ ได้สมใจสงบลงมาเป็นความสุข
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_05.mp3

6 – สองทางสายใหญ่ที่จะเลือกไปสู่ความสุข
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_06.mp3

7 – ถ้าการศึกษาพัฒนาคนให้มีความสุขด้วยฉันทะได้ จริยธรรมไม่หนีไปไหน
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_07.mp3

8 – กฏมนุษย์สร้างระบบเงื่อนไข
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_08.mp3

9 – ถ้าให้ระบบเงื่อนไขหนุนกฎธรรมชาติได้ ก็จะมีผลดีจริง
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_09.mp3

10 – รู้ทันว่าอยู่ในระบบเงื่อนไข ก็ใช้มันให้เต็มคุณค่า
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_10.mp3

11 – ความสนุกในการเรียน กับความสุขในการศึกษา
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_11.mp3

12 – แค่มีความสุขในการเรียนยังไม่พอ ต้องขอให้เรียนแล้วกลายเป็นคนมีความสุข
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_12.mp3

13 – ความสุขมีมากมาย ธรรมชาติรอบกายก็รอจะให้ความสุข
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_13.mp3

14 – จะพัฒนาความสุข ต้องพัฒนาความต้องการต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_14.mp3

15 – ความสุขเหนือกาล เมื่อเหนือการสนองความต้องการ
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_15.mp3

16 – สุขเพราะได้เกาที่คัน กับสุขเพราะไม่มีที่คันจะต้องเกา
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_16.mp3

17 – การพัฒนาความสุข วัดผลเชิงอุดมคติ
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_17.mp3

18 – ภาคปฏิบัติการ – ทุกข์มีทุกข์มา อย่าเสียท่าเอาใจรับ
แต่จงเรียกปัญญาให้มาจับเอาทุกข์ไปจัดการ
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_18.mp3

19 – ทั้งทุกข์และสุข ปฏิบัติให้ถูก มีแต่สุข ทุกข์ไม่มี
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_19.mp3

20 – ความสุขที่พึงเน้นสำหรับคนทั่วไป เริ่มตั้งแต่ในบ้าน
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_20.mp3

21 – พัฒนากามสุขที่สุขแย่งกัน ให้มีความสุขที่สุขด้วยกัน
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_21.mp3

22 – ชีวิตจะวัฒนา ถ้าได้ปราโมทย์มาเป็นพื้นใจ
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_22.mp3

23 – สังคมจะมีสันติสุขได้ คนต้องรู้จักความสุขจากการให้
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_23.mp3

24 – ไม่เฉพาะสังคม แม้ในสังฆะ พระก็ถือหลักแบ่งปันลาภ
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_24.mp3

25 – ให้ความดีงามในจิตใจบุคคล ออกมาเป็นปฏิบัติการเกื้อสังคม
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_25.mp3

26 – บุคคลเอื้ออารี สังคมสามัคคี ทุกคนได้ ทุกคนดี มีสุขด้วยกันและทั่วกัน
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_26.mp3

27 – คนมีปัญญา แม้แต่ทุกข์ ก็เห็นคุณค่า และใช้ประโยชน์ได้
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_27.mp3

28 – ความสุขมีคุณมาก โทษก็หนัก ต้องรู้จักใช้
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_28.mp3

29 – ของเสพเต็มไปหมด สุขกลับลด ทุกข์ก็ง่าย
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_29.mp3

30 – จะสุขง่าย ทุกข์ได้ยาก หากฝึกไว้
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_30.mp3

31 – บทลงท้าย-ความสุขที่สมบูรณ์ ดูอย่างไร
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_31.mp3

32 – เมื่อสุขของบุคคล คือสุขเพื่อมวลชนทั้งโลก
                 https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/06/23_32.mp3

เป็นเสียงอ่านจากหนังสือ “พุทธธรรม”
โดยผู้เขียน “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)”
ผู้เป็นดั่งเพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนา

สามารถดาวโหลดหนังสือ “พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)” ได้ที่นี่ค่ะ
https://dhammaway.wordpress.com/wp-content/uploads/2013/05/putthathum-extend.pdf